เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [2. มหานิทานสูตร] ไม่บัญญัตอัตตา

อัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ อานนท์ การลงความเห็น
ว่าอัตตาที่มีอยู่ มีขนาดจำกัด ไม่มีรูป ย่อมติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น
จึงควรกล่าวไว้
บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตามีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมบัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ
ในชาตินี้ หรือบัญญัติว่าเป็นสภาพมีอยู่ตลอดกาล หรือมีความเห็นว่า ‘เราจักทำ
อัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ อานนท์ การลงความ
เห็นว่าอัตตา ที่มีอยู่ มีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้
ฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้
อานนท์ บุคคลเมื่อบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยความเห็น 4 อย่างนี้แล”

ไม่บัญญัติอัตตา

[119] “อานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยความเห็น
กี่อย่าง
บุคคล
1. เมื่อไม่บัญญัติอัตตาที่มีขนาดจำกัด มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่า
‘อัตตาของเรามีขนาดจำกัด มีรูป’
2. เมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดไม่จำกัด มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่า
‘อัตตาของเรามีขนาดไม่จำกัด มีรูป’
3. เมื่อไม่บัญญัติอัตตาที่มีขนาดจำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่า
‘อัตตาของเรามีขนาดจำกัด ไม่มีรูป’
4. เมื่อไม่บัญญัติอัตตาที่มีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่า
‘อัตตาของเรา มีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป’
[120] ในความเห็น 4 อย่างนั้น บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดจำกัด
มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะในชาตินี้ หรือไม่บัญญัติว่าเป็นสภาพมีอยู่ตลอดกาล
หรือไม่มีความเห็นว่า ‘เราจักทำอัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :68 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [2. มหานิทานสูตร] ความเห็นว่าเป็นอัตตา

สภาพเที่ยง’ การลงความเห็นว่าอัตตาที่มีอยู่มีขนาดจำกัด มีรูป ย่อมไม่ติดตามมา
ด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้
บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดไม่จำกัด มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ
ในชาตินี้ หรือไม่บัญญัติว่าเป็นสภาพที่มีอยู่ตลอดกาล หรือไม่มีความเห็นว่า ‘เราจัก
ทำอัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ การลงความเห็นว่า
อัตตาที่มีอยู่ มีขนาดไม่จำกัด มีรูป ย่อมไม่ติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น
จึงควรกล่าวไว้
บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดจำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ
ในชาตินี้ หรือไม่บัญญัติว่าเป็นสภาพที่มีอยู่ตลอดกาล หรือไม่มีความเห็นว่า ‘เราจัก
ทำอัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ การลงความเห็นว่า
อัตตาที่มีอยู่มีขนาดจำกัดไม่มีรูป ย่อมไม่ติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น จึงควร
กล่าวไว้
บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตามีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่บัญญัติว่ามีอยู่เฉพาะ
ในชาตินี้ หรือไม่บัญญัติว่าเป็นสภาพมีอยู่ตลอดกาล หรือไม่มีความเห็นว่า ‘เราจัก
ทำอัตตาที่มีสภาพไม่เที่ยง ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเป็นสภาพเที่ยง’ การลงความเห็นว่า
อัตตาที่มีอยู่ มีขนาดไม่จำกัด ไม่มีรูป ย่อมไม่ติดตามมาด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น
จึงควรกล่าวไว้
อานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยความเห็น 4 อย่างนี้แล”

ความเห็นว่าเป็นอัตตา

[121] “อานนท์ บุคคลเมื่อเห็นว่ามีอัตตา ย่อมเห็นด้วยความเห็น กี่อย่าง
บุคคลเมื่อเห็นเวทนาว่าเป็นอัตตา ย่อมเห็นว่า ‘เวทนาเป็นอัตตาของเรา’
หรือเห็นว่า ‘เวทนาไม่ใช่อัตตาของเรา (เพราะ) อัตตาของเราไม่เสวยอารมณ์’ หรือ
เห็นว่า ‘เวทนาไม่ใช่อัตตาของเรา อัตตาของเราจะไม่เสวยอารมณ์ก็มิใช่ อัตตาของเรา
ยังเสวยอารมณ์อยู่ เพราะอัตตาของเรามีเวทนาเป็นคุณสมบัติ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :69 }