เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [2. มหานิทานสูตร] ปฏิจจสมุปบาท

2. มหานิทานสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นต้นเหตุใหญ่

ปฏิจจสมุปบาท1

[95] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ
แคว้นกุรุ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง2 สุดจะ
คาดคะเนได้ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับว่าเป็นธรรมง่าย ๆ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ อย่าพูดอย่างนั้น อานนท์
ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง สุดจะคาดคะเนได้ ก็เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจปฏิจจ-
สมุปบาทนี้ หมู่สัตว์จึงยุ่งเหมือนขอดด้ายของช่างหูก เป็นปมนุงนังเหมือนกระจุกด้าย
เหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ข้ามพ้นอบาย3 ทุคติ วินิบาตและสงสาร
[96] อานนท์ เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมีหรือ’
ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี’ ควรตอบว่า
‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ชาติจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า
‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ภพจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า
‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) 16/60/113
2 ลึกซึ้ง หมายถึงลึกซึ้งโดยอาการ 4 คือ (1) อรรถ (ผล) (2) ธรรม (เหตุ) (3) เทศนา (วิธีการแสดง)
(4) ปฏิเวธ (การบรรลุ) (ที.ม.อ. 95/90)
3 อบาย หมายถึงภาวะหรือที่อันปราศจากความเจริญ 4 คือ (1) นรก (2) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน (3) แดน
เปรต (4) อสุรกาย (ที.ม.อ 95/94)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :57 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [2. มหานิทานสูตร] ปฏิจจสมุปบาท

เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’
ถ้าถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะตัณหาเป็น
ปัจจัย อุปาทานจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า
‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย เวทนาจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า
‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า
‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย นามรูปจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้า
ถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้า
ถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี‘ควรตอบว่า ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี’
[97] ด้วยเหตุดังนี้แล

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย___วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย___นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย___ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย___เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย___ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย___อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย___ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย___ชาติจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :58 }