เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [1. มหาปทานสูตร]
พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพิจารณาสัตว์โลก

สอนให้รู้ได้ยาก ควรสั่งสอน ไม่ควรสั่งสอน บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัว
บางพวกไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัว1 ฉันนั้น
[70] ครั้งนั้น ท้าวมหาพรหมทราบพระรำพึงของพระวิปัสสีพุทธเจ้าด้วยใจ
จึงได้กราบทูลด้วยคาถาทั้งหลายว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาดี มีพระสมันตจักขุ2
บุรุษผู้ยืนบนยอดภูเขาศิลาล้วน
พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ แม้ฉันใด
พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว
โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม3
จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก
และถูกชาติชราครอบงำ ได้ชัดเจน ฉันนั้น4
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
ผู้ชนะสงคราม5 ผู้นำหมู่6 ผู้ไม่มีหนี7

เชิงอรรถ :
1 นอกจากบัวจมอยู่ใต้น้ำ บัวอยู่เสมอน้ำ บัวพ้นน้ำ 3 เหล่านี้ อรรถกถาได้กล่าวถึงบัวเหล่าที่ 4 คือบัวที่มี
โรคยังไม่พ้นน้ำ เป็นอาหารของปลาและเต่า ซึ่งมิได้ยกขึ้นสู่บาลี แล้วแบ่งบุคคลเป็น 4 เหล่า (ตามที่ปรากฏใน
องฺ.จตุกฺก. (แปล) (21/133/202, อภิ.ปุ. (แปล) 36/148-151/186-187) คือ (1) อุคฆฏิตัญญู
(2) วิปจิตัญญู (3) เนยยะ (4) ปทปรมะ แล้วเปรียบอุคฆฏิตัญญู เป็นเหมือนบัวพ้นน้ำ ที่พอต้องแสง
อาทิตย์แล้วก็บานในวันนี้ เปรียบวิปจิตัญญู เป็นเหมือนบัวอยู่เสมอน้ำที่จะบานในวันรุ่งขึ้น เปรียบเนยยะ
เป็นเหมือนบัวจมอยู่ในน้ำที่จะขึ้นมาบานในวันที่ 3 ส่วนปทปรมะ เปรียบเหมือนบัวที่มีโรค ยังไม่พ้นน้ำ
ไม่มีโอกาสขึ้นมาบาน เป็นอาหารของปลาและเต่า
พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุอันเป็นเหมือนกออุบลเป็นต้น ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงว่า
หมู่ประชาผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง มีประมาณเท่านี้ หมู่ประชาผู้มีธุลีในดวงตามากมีประมาณเท่านี้ และใน
หมู่ประชาทั้ง 2 นั้น อุคฆฏิตัญญูบุคคลมีประมาณเท่านี้ (ที.ม.อ. 69/65, สารตฺถ. ฏีกา 3/9/192-193)
2 พระสมันตจักขุ หมายถึงพระสัพพัญญุตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต)
(ที.ม.อ. 70/66)
3 ปราสาทคือธรรม ในที่นี้หมายถึงปัญญา หรือโลกุตตรธรรม (ที.ม.อ. 70/66, ที.ม.ฏีกา. 70/80)
4 ดู ขุ.ม. (แปล) 29/156/430
5 ชนะสงคราม หมายถึงชนะเทวปุตตมาร (มารคือเทพบุตร) มัจจุมาร (มารคือความตาย) และกิเลสมาร
(มารคือกิเลส) ได้แล้ว (ที.ม.อ. 70/67)
6 ผู้นำหมู่ หมายถึงสามารถนำเวไนยสัตว์ข้ามทางกันดารคือชาติเป็นต้นได้ (ที.ม.อ. 70/67)
7 หนี้ ในที่นี้หมายถึงกามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (ที.ม.อ. 70/67)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :40 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [1. มหาปทานสูตร] คู่พระอัครสาวก

ขอพระองค์โปรดลุกขึ้น เสด็จจาริกไปในโลก
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมเถิด
เพราะผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังมีอยู่1’
[71] เมื่อท้าวมหาพรหมกราบทูลอย่างนี้ พระวิปัสสีพุทธเจ้าได้ตรัสกับ
ท้าวมหาพรหมนั้นด้วยพระคาถาว่า
“สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดจะฟัง
จงปล่อยศรัทธามาเถิด
เราได้เปิดประตูแห่งอมตะ2
แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว
ท่านพรหม เพราะเราสำคัญว่าจะลำบาก
จึงมิได้แสดงธรรมที่ประณีตคล่องแคล่วในหมู่มนุษย์
ขณะนั้น ท้าวมหาพรหมได้ทราบว่า ‘พระวิปัสสีพุทธเจ้าได้ทรงประทานโอกาส
เพื่อจะทรงแสดงธรรมแล้ว’ จึงถวายอภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง

คู่พระอัครสาวก

[72] ภิกษุทั้งหลาย ต่อมา พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพระดำริว่า ‘เราจะพึง
แสดงธรรมแก่ใครก่อน ใครจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’ แล้วทรงพระดำริต่อไปว่า
‘พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะ อาศัยอยู่ในกรุงพันธุมดี
ราชธานี เป็นคนเฉลียวฉลาด หลักแหลม มีธุลีในดวงตาเบาบางมานาน ทางที่ดี
เราพึงแสดงธรรมแก่เธอทั้งสองก่อน เธอทั้งสองจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’
[73] พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงหายไปจากควงต้นโพธิ์มาปรากฏที่เขมมฤคทายวัน
ในกรุงพันธุมดีราชธานี เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ได้รับสั่งเรียกคนเฝ้าสวนมาตรัสว่า ‘มานี่เถิด นายทายบาล เธอจงเข้าไปยังกรุง

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/282/306-307, สํ.ส. (แปล) 15/172/232
2 ประตูแห่งอมตะ หมายถึงอริยมรรคที่เป็นทางแห่งอมตะคือพระนิพพาน (ที.ม.อ. 71/67)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :41 }