เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [9. มหาสติปัฏฐานสูตร]
อานิสสงส์แห่งการเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ

4 ปีจงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 3 ปี พึงหวังได้ผล
อย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นอนาคามี
3 ปีจงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 2 ปี พึงหวังได้ผล
อย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นอนาคามี
2 ปีจงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 1 ปี พึงหวังได้ผล
อย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นอนาคามี
1 ปีจงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 7 เดือน พึงหวังได้ผล
อย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นอนาคามี
7 เดือนจงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 6 เดือน พึงหวังได้ผล
อย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นอนาคามี
6 เดือนจงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 5 เดือน พึงหวังได้ผล
อย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นอนาคามี
4 เดือนจงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 3 เดือน พึงหวังได้ผล
อย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นอนาคามี
3 เดือนจงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 2 เดือน พึงหวังได้ผล
อย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นอนาคามี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :339 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [9. มหาสติปัฏฐานสูตร]
อานิสสงส์แห่งการเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ

2 เดือนจงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 1 เดือน พึงหวังได้ผล
อย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นอนาคามี
1 เดือนจงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอดครึ่งเดือน พึงหวังได้ผล
อย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นอนาคามี
ภิกษุทั้งหลาย ครึ่งเดือน จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 7 วัน
พึงหวังได้ผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
อุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
[405] ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำ
ให้แจ้งนิพพาน ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน 4 ประการ เราอาศัยทางเดียวนี้แล้ว
จึงกล่าวคำดังพรรณนามาฉะนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล

มหาสติปัฏฐานสูตรที่ 9 จบ