เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [9. มหาสติปัฏฐานสูตร] ธัมมานุปัสสนา

ธัมมานุปัสสนา
หมวดสัจจะ

[386] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลาย คือ อริยสัจ 4 อยู่
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อริยสัจ 4 อยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์’
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกขสมุทัย’
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกขนิโรธ’
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’

ทุกขสัจจนิทเทส

[387] ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ชาติ (ความเกิด) เป็นทุกข์ ชรา (ความแก่) เป็นทุกข์ มรณะ (ความตาย)
เป็นทุกข์ โสกะ (ความโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย)
โทมนัส (ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นทุกข์ การประสบกับ
อารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์
การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์1 5 เป็นทุกข์2

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.อ. 202/177
2 วิ.ม. (แปล) 4/14/14, ม.มู. (แปล) 12/91/86, ม.อุ.14/373/317, ขุ.ป. (แปล) 31/33/50

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :324 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [9. มหาสติปัฏฐานสูตร] ธัมมานุปัสสนา

การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์1 5 เป็นทุกข์2
[388] ชาติ เป็นอย่างไร
คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิด
เฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ชาติ1
[389] ชรา เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง
เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ชรา2
[390] มรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตาย
กล่าวคือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความ
ขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า มรณะ3
[391] โสกะ เป็นอย่างไร
คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่
ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ

เชิงอรรถ :
1 ม.มู. (แปล) 12/93/88, ม.อุ. 14/373/317, สํ.นิ. (แปล) 16/2/4, ขุ.ป. (แปล) 31/33/50, อภิ.วิ. (แปล)
35/235/221
2 ม.มู. (แปล) 12/92/87, ม.อุ. 14/373/317, สํ.นิ. (แปล) 16/2/4,27/53,28/55,33/70, ขุ.ป.
(แปล) 31/33/50, อภิ.วิ. (แปล) 35/236/222
3 ม.มู. (แปล) 12/92/88, ม.อุ. 14/373/318, สํ.นิ. (แปล) 16/2/4,27/53,28/55,33/70, ขุ.ม. (แปล)
29/41/150, ขุ.ป. (แปล) 31/33/50, อภิ.วิ. (แปล) 35/236/222
4 ขุ.ม. (แปล) 29/44/155,97/298, ขุ.จู. (แปล) 30/21/126, ขุ.ป. (แปล) 31/33/50, อภิ.วิ. (แปล)
35/237/164

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :325 }