เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [9. มหาสติปัฏฐานสูตร] ธัมมานุปัสสนา

ธัมมานุปัสสนา
หมวดขันธ์

[383] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์1 5 อยู่
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ 5 อยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ 5
อยู่ว่า
1. ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูป
เป็นอย่างนี้
2. เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับ
แห่งเวทนาเป็นอย่างนี้
3. สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับ
แห่งสัญญาเป็นอย่างนี้
4. สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับ
แห่งสังขารเป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 อุปาทานขันธ์ มาจากอุปาทาน + ขันธ์ แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้ (1) อุปาทาน แปลว่า ความถือมั่น
(อุป=มั่น+อาทาน=ถือ) มีความหมายหลายนัย เช่น หมายถึงชื่อของราคะที่ประกอบด้วยกามคุณ 5
(ปญฺจกามคุณิกราคสฺเสตํ อธิวจนํ -สํ.ข.อ. 2/1/16, อภิ.สงฺ.อ. 1219/442) บ้าง หมายถึงความถือมั่น
ด้วยอำนาจตัณหามานะและทิฏฐิ (ตามนัย สํ.ข.อ. 2/63/308) บ้าง (2) ขันธ์ แปลว่า กอง (ตสฺส ขนฺธสฺส)
ราสิอาทิวเสน อตฺโถ เวทิตพฺโพ -อภิ. สงฺ.อ. 5/192) ดังนั้น อุปาทานขันธ์ จึงหมายถึง กองอันเป็น
อารมณ์แห่งความถือมั่น (อุปาทานานํ อารมฺมณภูตา ขนฺธา = อุปาทานกฺขนฺธา) (สํ.ข. ฏีกา 22/254)
และดู ที.ปา. 11/311/204,315/208, สํ.สฬา. (แปล) 18/328/346, สํ.ม. (แปล) 19/179/105
เมื่อนำองค์ธรรม คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มารวมกับอุปาทานขันธ์ เช่น วิญฺญาณู-
ปาทานกฺขนฺโธ จึงแปลได้ว่า “กองอันเป็นอารมณ์แห่งความถือมั่นคือวิญญาณ” ตามนัย อภิ.สงฺ.อ.
5/192 ว่า วิญฺญาณเมว ขนฺโธ = วิญฺญาณกฺขนฺโธ (กองวิญญาณ)
อนึ่ง เมื่อกล่าวโดยสรุป อุปาทานขันธ์ หมายถึงทุกข์ ตามบาลีว่า “สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา
ทุกฺขา” แปลว่า ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์ (ม.อุ.14/373/319,ขุ.ป. (แปล) 31/33/53,
อภิ.วิ.อ. 202/177, วิสุทฺธิ. 2/505/122) และดู อภิ.วิ. (แปล) 35/202/166 ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :318 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [9. มหาสติปัฏฐานสูตร] ธัมมานุปัสสนา

5. วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความ
ดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’
ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายใน1อยู่ พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอก2อยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้ง
ธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่
หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘ธรรมมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัย
เจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ๆ
ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ 5
อยู่ อย่างนี้แล

หมวดขันธ์ จบ

ธัมมานุปัสสนา
หมวดอายตนะ

[384] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลาย คือ อายตนะภายใน 6 และอายตนะภายนอก 6 อยู่
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อายตนะภายใน 6 และ
อายตนะภายนอก 6 อยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. รู้ชัดตา รู้ชัดรูป สังโยชน์ใดอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นเกิดขึ้น
ก็รู้ชัดสังโยชน์นั้น การเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้

เชิงอรรถ :
1 ธรรมทั้งหลายภายใน หมายถึงขันธ์ 5 ของตน (ที.ม.อ. 383/398)
2 ธรรมทั้งหลายภายนอก หมายถึงขันธ์ 5 ของผู้อื่น (ที.ม.อ. 383/398)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :319 }