เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [1. มหาปทานสูตร] เรื่องเกี่ยวกับปุพพเพนิวาส

ว่าโกนาคมนะ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ได้เสด็จ
อุบัติขึ้นในโลก บัดนี้ เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้อุบัติขึ้นมาในโลกใน
ภัทรกัปนี้เช่นกัน
[5] พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า มีพระชาติเป็น
กษัตริย์ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูลกษัตริย์ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมน-
พุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า1 มีพระชาติเป็นพราหมณ์ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูล
พราหมณ์ บัดนี้ เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีชาติเป็นกษัตริย์ ได้อุบัติขึ้น
ในตระกูลกษัตริย์
[6] พระวิปัสสีพุทธเจ้า มีพระโคตรว่าโกณฑัญญะ พระสิขีพุทธเจ้า มีพระ
โคตรว่าโกณฑัญญะ พระเวสสภูพุทธเจ้า มีพระโคตรว่าโกณฑัญญะ พระกกุสันธ-
พุทธเจ้า มีพระโคตรว่ากัสสปะ พระโกนาคมนพุทธเจ้า มีพระโคตรว่ากัสสปะ
พระกัสสปพุทธเจ้า มีพระโคตรว่ากัสสปะ บัดนี้ เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีโคตรว่าโคตมะ
[7] พระวิปัสสีพุทธเจ้า มีพระชนมายุประมาณ 80,000 ปี พระสิขีพุทธเจ้า
มีพระชนมายุประมาณ 70,000 ปี พระเวสสภูพุทธเจ้า มีพระชนมายุประมาณ
60,000 ปี พระกกุสันธพุทธเจ้า มีพระชนมายุประมาณ 40,000 ปี พระโกนา-
คมนพุทธเจ้า มีพระชนมายุประมาณ 30,000 ปี พระกัสสปพุทธเจ้า มีพระชนมายุ
ประมาณ 20,000 ปี บัดนี้ เรามีอายุเพียงเล็กน้อย ผู้ที่มีอายุยืนก็เพียง 100 ปี
หรือเกินไปอีกเล็กน้อย
[8] พระวิปัสสีพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงต้นแคฝอย2 พระสิขีพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควง
ต้นมะม่วง พระเวสสภูพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงต้นสาละ พระกกุสันธพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงต้นซึก

เชิงอรรถ :
1 ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปในพระสูตรนี้ จะใช้คำว่า “พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า
พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า“ แทนวลีว่า “พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เป็นต้น
2 ที่ควงต้นแคฝอย หมายถึงภายใต้บริเวณร่มแคฝอย(ที.ม.อ.8/9)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :3 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [1. มหาปทานสูตร] เรื่องเกี่ยวกับปุพพเพนิวาส

พระโกนาคมนพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงต้นมะเดื่อ พระกัสสปพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงต้นไทร
บัดนี้ เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงต้นอัสสัตถะ1
[9] พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงมีคู่พระอัครสาวก2เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระขัณฑะ
และพระติสสะ พระสิขีพุทธเจ้า ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระอภิภู
และพระสัมภวะ พระเวสสภูพุทธเจ้า ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่
พระโสณะและพระอุตตระ พระกกุสันธพุทธเจ้า ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ
ได้แก่ พระวิธูระและพระสัญชีวะ พระโกนาคมนพุทธเจ้า ทรงมีคู่พระอัครสาวก
เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระภิยโยสะและพระอุตตระ พระกัสสปพุทธเจ้า ทรงมีคู่พระ
อัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระติสสะและพระภารทวาชะ บัดนี้ เรามีคู่พระ
อัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญ ได้แก่ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
[10] พระวิปัสสีพุทธเจ้า มีการประชุมพระสาวก3 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 มีภิกษุ
168,000 รูป ครั้งที่ 2 มีภิกษุ 100,000 รูป ครั้งที่ 3 มีภิกษุ 80,000 รูป
พระสาวกที่เข้าประชุมทั้ง 3 ครั้ง ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ4
พระสิขีพุทธเจ้า มีการประชุมพระสาวก 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 มีภิกษุ 100,000 รูป
ครั้งที่ 2 มีภิกษุ 80,000 รูป ครั้งที่ 3 มีภิกษุ 70,000 รูป พระสาวกที่เข้า
ประชุมทั้ง 3 ครั้ง ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ
พระเวสสภูพุทธเจ้า มีการประชุมพระสาวก 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 มีภิกษุ
80,000 รูป ครั้งที่ 2 มีภิกษุ 70,000 รูป ครั้งที่ 3 มีภิกษุ 60,000 รูป พระสาวก
ที่เข้าประชุมทั้ง 3 ครั้ง ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ

เชิงอรรถ :
1 ต้นอัสสัตถะ ในที่นี้หมายถึงต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ กล่าวคือพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสรู้ ณ ควงต้นไม้
ใด ๆ ต้นนั้น ๆเรียกว่า โพธิ์ (ขุ.อป. 33/23/570,ขุ.พุทฺธวํส. 33/1-18/431, ที.ม.อ. 8/10-11)
2 พระอัครสาวก คือ พระสาวกชั้นยอด เพราะมีคุณสมบัติพิเศษกว่าพระสาวกอื่นทั้งหมด พระพุทธเจ้า
แต่ละพระองค์มีพระอัครสาวก 2 องค์ พระอัครสาวกของพระพุทธเจ้าของเรา คือ (1) พระสารีบุตรเถระ
เลิศทางปัญญา (2) พระมหาโมคคัลลานเถระ เลิศทางมีฤทธิ์มาก (ที.ม.อ.9/11-12)
3 การประชุมพระสาวก ในที่นี้หมายถึงการประชุมสงฆ์ ที่ต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ (1) ภิกษุผู้เข้า
ประชุมทั้งหมดมีพระพุทธเจ้าเป็นอุปัชฌาย์ (2) ภิกษุผู้เข้าประชุมทั้งหมดมีบาตรและมีจีวรเกิดจากฤทธิ์
(3) ภิกษุผู้เข้าประชุมทั้งหมดเข้าประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (4) วันประชุมตรงกับวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ
พระศาสดาทรงแสดงอุโบสถ (โอวาทปาติโมกข์) ด้วยพระองค์เอง (ที.ม.อ.10/12)
4 พระขีณาสพ หมายถึงผู้สิ้นอาสวะ 4 คือ (1) กามาสวะ (อาสวะคือกาม) (2) ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
(3) ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ) (4) อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา) (ที.ปา.อ. 116/48)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :4 }