เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [6. มหาโควินทสูตร] การสนทนากับพระพรหม

คำของท่านที่ว่า ‘เป็นผู้อยู่ผู้เดียว’ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ‘บุคคลบางคนในโลกนี้
อาศัยเสนาสนะอันสงัดคือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง
ลอมฟาง’ คำของท่านที่ว่า ‘เป็นผู้อยู่ผู้เดียว’ ข้าพเจ้าเข้าใจดังว่ามานี้
คำของท่านที่ว่า ‘ผู้น้อมใจไปในกรุณา’ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ‘บุคคลบางคนในโลก
นี้มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ... ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ... ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยกรุณาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’ คำของ
ท่านที่ว่า ‘ผู้น้อมใจไปในกรุณา’ ข้าพเจ้าเข้าใจดังว่ามานี้
อนึ่ง เมื่อท่านผู้เจริญ พูดถึงกลิ่นชั่วร้ายอยู่ ข้าพเจ้าไม่รู้จัก(กลิ่นนั้น)’
มหาโควินทพราหมณ์ทูลถามด้วยคาถาว่า
‘ข้าแต่พรหม บรรดามนุษย์
พวกไหนมีกลิ่นชั่วร้าย
ข้าพเจ้าไม่รู้จักพวกนั้น
ขอท่านผู้เป็นปราชญ์ จงบอกมาในที่นี้เถิด
อะไรร้อยรัด หมู่สัตว์จึงเหม็นเน่าคลุ้ง
ต้องไปอบาย ปิดพรหมโลกแล้ว’
สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยคาถาว่า
‘โกธะ (ความโกรธ) โมสวัชชะ (การพูดเท็จ)
นิกติ (การโกง) โทพภะ (การประทุษร้ายมิตร)
กทริยตา1(ความตระหนี่) อติมานะ (ความดูหมิ่น)
อุสุยา (ความริษยา) อิจฉา (ความปรารถนา)
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ปรเหฐนา (การเบียดเบียนผู้อื่น)
โลภะ (ความอยากได้) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)

เชิงอรรถ :
1 กทริยตา ในที่นี้หมายถึงความตระหนี่จัด (ที.ม.อ. 320/279)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :248 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [6. มหาโควินทสูตร] ถวายบังคมลาพระเจ้าเรณุ

มทะ (ความมัวเมา) โมหะ (ความหลง)
สัตว์ผู้ประกอบด้วยกิเลสเหล่านี้
จัดว่าเป็นผู้มีกลิ่นชั่วร้าย
ต้องไปอบาย ปิดพรหมโลกแล้ว’
มหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘เมื่อท่านผู้เจริญตรัสบอกกลิ่นชั่วร้าย
ข้าพเจ้าจึงรู้จัก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’ สนังกุมารพรหมตรัสว่า
‘โควินทะ ขอท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’

ถวายบังคมลาพระเจ้าเรณุ

[321] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้า
พระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘บัดนี้ ขอได้โปรดแสวงหาปุโรหิตคนอื่น
ผู้จะถวายคำปรึกษาราชกิจแด่พระองค์เถิด พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ปรารถนาจะ
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่าข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่พระพรหม
ตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก ข้าพระองค์
จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’
(ท่านมหาโควินทพราหมณ์กราบทูลด้วยคาถาว่า)
‘ข้าพระองค์ขอถวายบังคมลา
พระเจ้าเรณุผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
ขอพระองค์ทรงทราบพระราชกิจ
ข้าพระองค์ไม่ยินดีในตำแหน่งปุโรหิต’
(พระเจ้าเรณุตรัสตอบด้วยคาถาว่า)
‘ถ้าท่านยังพร่องด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา
เราจะเพิ่มให้เต็ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :249 }