เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [5. ชนวนสภสูตร] เรื่องสุนังกุมารพรหม

เมื่อมีนิมิตที่สังเกตได้
พระพรหมก็จะปรากฏองค์ขึ้น
เพราะโอภาสอันเจิดจ้ายิ่ง
เป็นนิมิตแห่งพระพรหม

เรื่องสนังกุมารพรหม

[284] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์นั่งบนที่นั่ง
ของตน ๆ กล่าวว่า ‘พวกเราจักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึงจะไป’
แม้ท้าวจาตุมหาราชประทับบนที่ประทับของตน ๆ ก็กล่าวว่า ‘พวกเราจักรู้
โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึงจะไป’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์สดับเรื่องนี้แล้ว
นั่งสงบอยู่มีความคิดตรงกันว่า ‘พวกเราจักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏ
แล้วจึงจะไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์
พระองค์ทรงเนรมิตอัตภาพให้หยาบปรากฏขึ้น เพราะรูปร่างปกติของพรหมไม่อาจ
ปรากฏในคลองจักษุของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวก
เทพชั้นดาวดึงส์ พระองค์ก็รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ ร่างกายที่เป็น
ทองคำ ย่อมงดงามเกินร่างกายมนุษย์ ฉันใด เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวก
เทพชั้นดาวดึงส์ พระองค์ก็รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ในเทพบริษัทนั้น
เทพบางองค์ไม่ไหว้ ไม่ต้อนรับ ไม่เชิญด้วยอาสนะ ทั้งหมดพากันนั่งขัดสมาธิ
ประนมมือนิ่งอยู่ด้วยดำริว่า ‘บัดนี้ สนังกุมารพรหมจะประทับนั่งบนบัลลังก์ของเทพ
ที่พระองค์ปรารถนา’
สนังกุมารพรหมประทับนั่งบนบัลลังค์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นได้ความยินดี
อย่างยิ่ง ได้โสมนัสอย่างยิ่ง กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วเพิ่งจะครองราชย์
ทรงได้ความยินดีอย่างยิ่ง ได้ความโสมนัสอย่างยิ่ง ฉันใด สนังกุมารพรหมประทับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :215 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [5. ชนวนสภสูตร] เสียงของสนังกุมารพรหม

นั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นก็ได้ความยินดีอย่างยิ่ง ได้ความโสมนัส
อย่างยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน จากนั้น สนังกุมารพรหมทรงเนรมิตอัตภาพให้หยาบ
เป็นรูปร่างกุมารเช่นกับปัญจสิขเทพบุตร ปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ แล้วเหาะ
ขึ้นอากาศนั่งขัดสมาธิในอากาศบนที่ว่างกลางอากาศ เหมือนบุรุษมีกำลังนั่งขัดสมาธิ
บนบัลลังก์ที่ปูลาดไว้ดีแล้ว หรือบนพื้นที่ราบเรียบเสมอกันฉะนั้น ทรงทราบความ
เลื่อมใสของพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว จึงทรงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายพวกเทพชั้นดาวดึงส์
มีพระอินทร์เป็นประธาน
ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระธรรม
เมื่อเห็นเทพเหล่าใหม่ ผู้มีวรรณะและมียศ
ผู้เคยประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ซึ่งมา ณ ที่นี้(ด้วย)
ก็พากันบันเทิงใจนัก
เทพเหล่านั้นเป็นสาวก
ของพระผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน
ทั้งหมดเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ
รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นในที่นี้
ด้วยวรรณะ ยศ และอายุ
พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีพระอินทร์เป็นประธาน
ครั้นเห็นเหตุนี้แล้ว พากันเพลิดเพลิน
ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระธรรม’

เสียงของสนังกุมารพรหม

[285] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้ ขณะที่
สนังกุมารพรหมตรัสเนื้อความนี้มีเสียงประกอบด้วยองค์ 8 ประการ คือ (1) แจ่มใส
(2) ชัดเจน (3) นุ่มนวล (4) ชวนฟัง (5) กลมกล่อม (6) ไม่พร่า (7) ลึกซึ้ง (8) กังวาน
สนังกุมารพรหมเปล่งเสียงให้รู้กันเฉพาะในบริษัทเท่านั้น เสียงของสนังกุมารพรหมนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :216 }