เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [4. มหาสุทัสสนสูตร] ม้าแก้ว

ช้างแก้ว

[246] 2. ช้างแก้วซึ่งเป็นช้างเผือก เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ มีฤทธิ์ เหาะไป
ในอากาศได้ เป็นพญาช้างตระกูลอุโบสถ1 ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ท้าวเธอ
ทอดพระเนตรแล้วทรงพอพระทัย ด้วยพระดำริว่า ‘ท่านผู้เจริญ พาหนะคือช้าง
ถ้าได้นำไปฝึก จะเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลแน่แท้’ ทันใดนั้น ช้างแก้วเชือกนั้นได้รับการ
ฝึกหัดเหมือนช้างอาชาไนยพันธุ์ดีตระกูลคันธหัตถี ซึ่งได้รับการฝึกหัดดีแล้วตลอด
กาลนาน อานนท์ เรื่องมีมาว่า ท้าวเธอเคยทรงทดสอบช้างแก้วเชือกนั้น โดยเสด็จ
ขึ้นทรงเวลาเช้าแล้วเสด็จเลียบไปตลอดแผ่นดินอันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต เสด็จ
กลับกรุงกุสาวดีราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า ช้างแก้วที่ทรงคุณวิเศษเห็นปานนี้
ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ

ม้าแก้ว

[247] 3. ม้าแก้วซึ่งเป็นม้าขาว ศีรษะดำ มีขนปกดุจหญ้าปล้อง มีฤทธิ์
เหาะไปในอากาศได้ ชื่อพญาม้าวลาหก ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ท้าวเธอ
ทอดพระเนตรแล้วทรงพอพระทัย ด้วยพระดำริว่า ‘ท่านผู้เจริญ พาหนะคือม้า
ถ้าได้นำไปฝึก จะเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลแน่แท‘’ ทันใดนั้น ม้าแก้วตัวนั้นได้รับการ
ฝึกหัด เหมือนม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ซึ่งได้รับการฝึกหัดดีแล้วตลอดกาลนาน อานนท์
เรื่องมีมาว่า ท้าวเธอเคยทรงทดสอบม้านั้น โดยเสด็จขึ้นทรงเวลาเช้าแล้วเสด็จ
เลียบไปตลอดแผ่นดินอันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต เสด็จกลับกรุงกุสาวดีราชธานี
ทันเสวยพระกระยาหารเช้า ม้าแก้วที่ทรงคุณวิเศษเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้า
มหาสุทัสสนะ

เชิงอรรถ :
1 พญาช้างตระกูลอุโบสถ ในที่นี้หมายถึงช้างมงคลตระกูล 1 ในบรรดา 10 ตระกูล คือ (1) กาฬวกหัตถี
(สีดำ) (2) คังไคยหัตถี (สีเหมือนน้ำไหล) (3) ปัณฑรหัตถี (สีขาวดังเขาไกรลาส) (4) ตามพหัตถี (สีทองแดง)
(5) ปิงคลหัตถี (สีทองอ่อนดังสีตาแมว) (6) คันธหัตถี (สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม) (7) มังคลหัตถี
(สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม) (8) เหมหัตถี (สีเหลืองดั่งทอง) (9) อุโบสถหัตถี (สีทองคำ)
(10) ฉัททันตหัตถี (กายสีขาวบริสุทธิ์ดังสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง) (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.2525) ในช้างมงคล 10 ตระกูลนี้ ช้างอุโบสถประเสริฐที่สุด (ที.ม.อ. 246/234)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :185 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [4. มหาสุทัสสนสูตร] คหบดีแก้ว

มณีแก้ว

[248] 4. มณีแก้วซึ่งเป็นแก้วไพฑูรย์งามบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ มีแปด
เหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกแวววาวได้สัดส่วน แสงสว่างของมณีแก้วดวงนั้น มีรัศมี
แผ่ซ่านออกรอบ ๆ ประมาณ 1 โยชน์ อานนท์ เรื่องมีมาว่า ท้าวเธอเคยทรง
ทดสอบมณีแก้วดวงนั้น ทรงให้หมู่จตุรงคินีเสนาผูกสอดเกราะแล้วทรงยกมณีแก้ว
นั้นขึ้นเป็นยอดธง เสด็จไปประทับยืนในที่มืดยามราตรี ชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบ
สำคัญว่าเป็นเวลากลางวัน จึงทำการงานด้วยแสงสว่างแห่งมณีแก้วนี้ มณีแก้วที่
ทรงคุณวิเศษเห็นปานนั้น ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ

นางแก้ว

[249] 5. นางแก้วซึ่งเป็นสตรีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่อง
ยิ่งนัก ไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก งดงามเกิน
ผิวพรรณหญิงมนุษย์ แต่ไม่ถึงผิวพรรณทิพย์ กายของนางแก้วนั้นสัมผัสอ่อนนุ่มดุจ
ปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย มีร่างกายอบอุ่นในฤดูหนาว เย็นในฤดูร้อน กลิ่นจันทน์หอมฟุ้ง
ออกจากกาย กลิ่นอุบลหอมฟุ้งออกจากปากของนาง นางตื่นก่อนนอนทีหลัง
คอยฟังว่าจะรับสั่งให้ทำอะไร ประพฤติต้องพระทัย ทูลแต่คำอันชวนให้รัก นางไม่
เคยประพฤตินอกพระทัยของท้าวเธอแม้ทางใจ ไหนเลยจะประพฤตินอกพระทัย
ทางกาย นางแก้วผู้ทรงคุณวิเศษเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ

คหบดีแก้ว

[250] 6. คหบดีแก้วซึ่งเป็นผู้มีตาทิพย์ อันเกิดจากผลกรรม ซึ่งสามารถ
เห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ เขาเข้าไปเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะแล้ว
กราบทูลอย่างนี้ว่า “ขอเดชะ พระองค์โปรดอย่ากังวลพระทัยเลย ข้าพระพุทธเจ้า
จะจัดการเรื่อง(ขุม)ทรัพย์ให้สำเร็จเป็นพระราชทรัพย์ของพระองค์” อานนท์ เรื่องมี
มาว่า ท้าวเธอทรงเคยทดสอบคหบดีแก้วมาแล้ว โดยเสด็จลงเรือลัดกระแสน้ำไป
กลางแม่น้ำคงคาตรัสกับคหบดีแก้วดังนี้ว่า ‘คหบดี เราต้องการเงินและทอง’ เขา
กราบทูลว่า ‘มหาราชเจ้า ถ้าเช่นนั้น โปรดเทียบเรือที่ริมตลิ่งด้านหนึ่ง’ ท้าวเธอ
ตรัสว่า ‘คหบดี เราต้องการเงินและทองที่นี่’ ทันใดนั้น คหบดีแก้วจึงเอามือทั้งสอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :186 }