เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [2.สามัญญผลสูตร] จูฬศีล

6. ภิกษุละ เว้นขาดจากคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
7. ภิกษุละ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง
พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่
อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา
8. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
9. ภิกษุฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลา
วิกาล
10. ภิกษุเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการ
ละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
11. ภิกษุเว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวง
ดอกไม้ของหอมและเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
12. ภิกษุเว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
13. ภิกษุเว้นขาดจากการรับทองและเงิน
14. ภิกษุเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ
15. ภิกษุเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
16. ภิกษุเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
17. ภิกษุเว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
18. ภิกษุเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
19. ภิกษุเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
20. ภิกษุเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
21. ภิกษุเว้นขาดจากการรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน
22. ภิกษุเว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
23. ภิกษุเว้นขาดจากการซื้อขาย
24. ภิกษุเว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วย
เครื่องตวงวัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :66 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [2.สามัญญผลสูตร] มัชฌิมศีล

25. ภิกษุเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
หรือ
26. ภิกษุเว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิง
วิ่งราว การปล้น และการขู่กรรโชก
ทั้งหมดนี้คือศีลของภิกษุ

จูฬศีล จบ

มัชฌิมศีล

[195] 1. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นที่สมณ-
พราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังพรากพืชคามและ
ภูตคามเหล่านี้ คือ พืชเกิดจากเหง้า เกิดจากลำต้น เกิดจากตา เกิดจากยอด เกิด
จากเมล็ด
[196] 2. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่สะสมไว้ เช่นที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังบริโภคของที่สะสมไว้เหล่านี้
คือ สะสมข้าว น้ำ ผ้า ยาน ที่นอน ของหอมและอามิส
[197] 3. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล เช่นที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังดูการ
ละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศลอย่างนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมดนตรี
การรำ การเล่านิทาน การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง การสร้าง
ฉากบ้านเมืองให้สวยงาม การละเล่นของคนจัณฑาล การเล่นกระดานหก การ
ละเล่นหน้าศพ การแข่งชนช้าง การแข่งม้า การแข่งชนกระบือ การแข่งชนโค การ
แข่งชนแพะ การแข่งชนแกะ การแข่งชนไก่ การแข่งชนนกกระทา การรำกระบี่
กระบอง การชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพลสวนสนาม การจัดกระบวน
ทัพ การตรวจกองทัพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :67 }