เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [2.สามัญญผลสูตร] ลัทธิของครูปกุธกัจจายนะ

มนุษย์คือที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป 4 เมื่อสิ้นชีวิต ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำ
ไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อม
ผันแปรไปเป็นอากาศธาตุ มนุษย์มีเตียงนอนเป็นที่ 5 นำศพไป1 ร่างกายปรากฏอยู่
แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกขาวโพลนดุจสีนกพิราบ การเซ่นสรวงสิ้นสุดลงแค่เถ้าถ่าน
คนเขลาบัญญัติทานนี้ไว้ คำที่คนบางพวกย้ำว่ามีผลนั้นว่างเปล่า เท็จ ไร้สาระ เมื่อ
สิ้นชีวิตไม่ว่าคนเขลาหรือคนฉลาดย่อมขาดสูญไม่เกิดอีก’
[172] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันถามถึงผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็น
ประจักษ์ แต่ครูอชิตะ เกสกัมพล กลับตอบเรื่องความขาดสูญ เปรียบเหมือนเขา
ถามเรื่องมะม่วงกลับตอบเรื่องขนุนสำปะลอ หรือเขาถามเรื่องขนุนสำปะลอกลับตอบ
เรื่องมะม่วง หม่อมฉันจึงคิดว่า คนระดับเราจะรุกรานสมณพราหมณ์ผู้อยู่ใน
ราชอาณาเขตได้อย่างไรกัน หม่อมฉันจึงไม่ชื่นชมไม่ตำหนิคำกล่าวของครูอชิตะ
เกสกัมพล ถึงไม่ชื่นชมไม่ตำหนิ แต่ก็ไม่พอใจ และไม่เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ
ออกมา เมื่อไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจคำกล่าวนั้น ก็ได้ลุกจากที่นั่งจากไป

ลัทธิของครูปกุธะ กัจจายนะ
นัตถิกวาทะ = ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย

[173] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คราวหนึ่งในกรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉันเข้าไปหา
ครูปกุธะ กัจจายนะ ถึงที่อยู่ เจรจาปราศรัยกันพอคุ้นเคยดี ได้นั่งลงถามครูปกุธะ
กัจจายนะว่า ‘ท่านกัจจายนะ อาชีพที่อาศัยศิลปะมากมายเหล่านี้ คือ ฯลฯ2 ท่าน
กัจจายนะจะบัญญัติผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบันได้เช่นนั้นบ้าง
หรือไม่’
[174] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามอย่างนี้ ครูปกุธะ กัจจายนะ
ตอบว่า ‘มหาบพิตร สภาวะ 7 กองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต
ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร
ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน

เชิงอรรถ :
1 เวลาหามศพจะใช้บุรุษ 4 คนเดินหามเตียงนอนไป ฉะนั้น จึงชื่อว่า มีเตียงเป็นที่ 5 (ที.สี.อ. 171/150)
2 ความเต็มเหมือนในข้อ 165

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :57 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [2.สามัญญผลสูตร]
ลัทธิของครูนิครนถ์ นาฏบุตร

สภาวะ 7 กองนั้นคืออะไรบ้าง คือ กองแห่งธาตุดิน กองแห่งธาตุน้ำ กองแห่งธาตุไฟ
กองแห่งธาตุลม กองสุข กองทุกข์ กองชีวะ สภาวะ 7 กองเหล่านี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มี
ผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด
ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและ
ทุกข์แก่กันและกัน ในสภาวะ 7 กองนั้น ไม่มีผู้ฆ่า ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฆ่า ไม่มีผู้ฟัง ไม่
มีผู้ใช้ให้คนอื่นฟัง ไม่มีผู้รู้ ไม่มีผู้ทำให้คนอื่นรู้ ใครก็ตามแม้จะเอาศัสตราคม
ตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าปลงชีวิตใครได้ เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรกผ่านไประหว่าง
สภาวะ 7 กองเท่านั้นเอง’
[175] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันถามถึงผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็น
ประจักษ์ แต่ครูปกุธะ กัจจายนะ กลับตอบเรื่องความขาดสูญ เปรียบเหมือนเขาถาม
เรื่องมะม่วงกลับตอบเรื่องขนุนสำปะลอ หรือเขาถามเรื่องขนุนสำปะลอกลับตอบ
เรื่องมะม่วง หม่อมฉันจึงคิดว่า คนระดับเราจะรุกรานสมณพราหมณ์ผู้อยู่ใน
ราชอาณาเขตได้อย่างไรกัน หม่อมฉันจึงไม่ชื่นชมไม่ตำหนิคำกล่าวของครูปกุธะ
กัจจายนะ ถึงไม่ชื่นชมไม่ตำหนิ แต่ก็ไม่พอใจ และไม่เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ
ออกมา เมื่อไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจคำกล่าวนั้น ก็ได้ลุกจากที่นั่งจากไป

ลัทธิของครูนิครนถ์ นาฏบุตร
อัตตกิลมถานุโยค = ลัทธิที่ถือว่าการทรมานตนเองเป็นการเผากิเลส

[176] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คราวหนึ่งในกรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉันเข้าไป
หาครูนิครนถ์ นาฏบุตร ถึงที่อยู่ เจรจาปราศรัยกันพอคุ้นเคยดี ได้นั่งลงถามครู
นิครนถ์ นาฏบุตร ว่า ‘ท่านอัคคิเวสสนะ อาชีพที่อาศัยศิลปะมากมายเหล่านี้ คือ
ฯลฯ1 ท่านอัคคิเวสสนะจะบัญญัติผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน
ได้เช่นนั้นบ้างหรือไม่’
[177] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามอย่างนี้ ครูนิครนถ์ นาฏบุตร
ตอบว่า ‘มหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้สำรวมด้วยการสังวร 4 อย่าง คือ 1. เว้น

เชิงอรรถ :
1 ความเต็มเหมือนในข้อ 165

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :58 }