เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [2.สามัญญผลสูตร] ลัทธิของครูมักขลิโคศาล

สามารถของมนุษย์ ไม่มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะ1 ทั้งปวง
ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพ
ทางสังคมและตามลักษณะเฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติ2ทั้ง 6 อนึ่ง
กำเนิดที่เป็นประธาน 1,406,600 กรรม 500 กรรม 5 กรรม 3 กรรม 1
กรรมกึ่ง3 ปฏิปทา 62 อันตรกัป 62 อภิชาติ 6 ปุริสภูมิ4 8 อาชีวก 4,900
ปริพาชก 4,900 นาควาส 4,900 อินทรีย์ 2,000 นรก 300 รโชธาตุ5 36
สัญญีครรภ์ 7 อสัญญีครรภ์ 7 นิคัณฐีครรภ์6 7 เทวดา 7 มนุษย์ 7 ปีศาจ 7
สระ 7 ตาไม้ไผ่ 7 ตาไม้ไผ่ 700 เหวใหญ่ 7 เหวน้อย 700 มหาสุบิน 7
สุบิน 700 มหากัป7 8,400,000 เหล่านี้ที่คนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่าย
ไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความสมหวังในความปรารถนาว่า เราจักอบรม
กรรมที่ยังไม่ให้ผลให้ให้ผล หรือสัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้วจักทำให้หมดสิ้นไปด้วยศีล พรต
ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้ (จำนวนเท่านั้นเท่านี้)

เชิงอรรถ :
1 สัตว์ หมายถึง สัตว์ชั้นสูง เช่น อูฐ ม้า ลา ปาณะ หมายถึง สัตว์ที่มี 1 อินทรีย์ 2 อินทรีย์เป็นต้น
ภูตะ หมายถึง สัตว์ทุกจำพวกทั้งที่เกิดจากฟองไข่และเกิดในครรภ์มารดา ชีวะ หมายถึง พวกพืชทุกชนิด
(ที.สี.อ. 168/146)
2 อภิชาติ คือ การกำหนดหมายชนชั้น เช่น โจรเป็นกัณหาภิชาติ (สีดำ) นักบวชเป็นนีลาภิชาติ (สีเขียว)
นิครนถ์เป็นโลหิตาภิชาติ (สีแดง) คฤหัสถ์เป็นหลิททาภิชาติ (สีเหลือง) อาชีวกเป็นสุกกาภิชาติ (สีขาว)
นักบวชที่เคร่งวัตรปฏิบัติเป็นปรมสุกกาภิชาติ (สีขาวยิ่งนัก) [ ที.สี.อ. 168/147]
3 ตามทัศนะของครูมักขลิ โคศาล กรรม 5 หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กรรม 3 หมายถึงกายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม กรรม 1 หมายถึง กายกรรมกับวจีกรรมรวมกัน กรรมกึ่ง หมายถึงมโนกรรม
(ที.สี.อ. 168/147)
4 ขั้นตอนแห่งการเจริญเติบโตและพัฒนาการของบุคคล นับตั้งแต่คลอดไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต แบ่ง
เป็น 8 ขั้น คือ มันทภูมิ (ระยะไร้เดียงสา) ขิฑฑาภูมิ (ระยะรู้เดียงสา) ปทวีมังสภูมิ (ระยะตั้งไข่)
อุชุคตภูมิ (ระยะเดินตรง) เสขภูมิ (ระยะศึกษา) สมณภูมิ (ระยะสงบ) ชินภูมิ (ระยะมีความรอบรู้)
ปันนภูมิ (ระยะแก่หง่อม) ( ที.สี.อ. 168/147-148)
5 ฝุ่นระออง ในที่นี้หมายถึง ที่ที่ฝุ่นจับเกาะ เช่นหลังฝ่ามือ ฝ่าเท้า เป็นต้น (ที.สี.อ. 168/147)
6 ที่งอกซึ่งอยู่ที่ข้อหรือตา เช่นอ้อย ไม้ไผ่ และไม้อ้อ เป็นต้น (ที.สี.อ. 168/148)
7 กำหนดระยะเวลา 1 มหากัป ยาวนานมาก อรรถกถาเปรียบว่า มีสระน้ำใหญ่แห่งหนึ่งเต็มด้วยน้ำ บุคคล
เอาปลายใบหญ้าคาจุ่มลงไปนำหยดน้ำออกมา 100 ปีต่อ 1 ครั้ง จนน้ำในสระนั้นแห้ง กระทำเช่นนี้ไปจน
ครบ 7 ครั้ง นั่นคือระยะเวลา 1 มหากัป (ที.สี.อ. 168/148)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :55 }