เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร] สรุปทิฏฐิ 62

สัตว์ ด้วยมูลเหตุทั้ง 5 อย่างนี้ หรือด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 อย่างนี้ ไม่
พ้นไปจากนี้ ฯลฯ อันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้องตามความเป็นจริง
[100] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นกำหนดขันธ์ (สรรพสิ่ง) ส่วน
อนาคต เห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต ประกาศวาทะ
แสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ 44 อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต เห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต
ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุทั้ง 44 อย่างนี้ หรือด้วยมูลเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่งใน 44 อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้ ฯลฯ อันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่อง
ตถาคตถูกต้องตามความเป็นจริง
[101] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต พวกที่
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต และพวกที่กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ล้วนมี
ความเห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตและ
อนาคต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ 62 อย่างนี้แล
[102] ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ที่
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต หรือที่กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ล้วนมีความ
เห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต
ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุทั้ง 62 อย่างนี้ หรือด้วยมูลเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่งใน 62 อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้
[103] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ที่บุคคล
ยึดถืออย่างนี้แล้วย่อมมีคติและภพหน้าอย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัด และยังรู้
ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกจึงไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ความดับด้วยตนเอง รู้ความเกิด
ความดับ คุณ โทษแห่งเวทนา และอุบายเครื่องสลัดเวทนาออกตามความเป็นจริง
ตถาคตจึงหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
[104] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ
ประณีต ใช้เหตุผลคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตรู้แจ้งได้
เองแล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามอันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้องตาม
ความเป็นจริง

(ทิฏฐิ 62 จบ)


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร]
ว่าด้วยการบัญญัติอัตตาและโลกเพราะความแส่หา ความดิ้นรน ของคนมีตัณหา

ว่าด้วยการบัญญัติอัตตาและโลกเพราะความแส่หา ความดิ้นรน
ของคนมีตัณหา

[105] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกที่มีวาทะว่าเที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยมูลเหตุ 4 อย่าง ข้อนั้นเป็นความเข้าใจของ
พวกเขาผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา ความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น
[106] พวกที่มีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและ
โลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยมูลเหตุ 4 อย่าง ข้อนั้นเป็นความเข้า
ใจของพวกเขาผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา ความดิ้นรนของคนมีตัณหาเหมือนกัน
[107] พวกที่มีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลก
ไม่มีที่สุด ด้วยมูลเหตุ 4 อย่าง ข้อนั้นเป็นความเข้าใจของพวกเขาผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็น
ความแส่หา ความดิ้นรนของคนมีตัณหาเหมือนกัน
[108] พวกที่มีวาทะหลบเลี่ยงไม่แน่นอน พอถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น ๆ
ย่อมกล่าวหลบเลี่ยงไม่แน่นอน ด้วยมูลเหตุ 4 อย่าง ข้อนั้นเป็นความเข้าใจของพวก
เขาผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา ความดิ้นรนของคนมีตัณหาเหมือนกัน
[109] พวกที่มีวาทะว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย บัญญัติ
อัตตาและโลกว่า เกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย ด้วยมูลเหตุ 2 อย่าง ข้อนั้นเป็นความ
เข้าใจของพวกเขาผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา ความดิ้นรนของคนมีตัณหาเหมือนกัน
[110] พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต เห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์
ส่วนอดีต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ 18 อย่าง ข้อนั้นเป็นความ
เข้าใจของพวกเขาผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา ความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น
[111] พวกที่มีวาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญา บัญญัติอัตตาหลัง
จากตายแล้วว่ามีสัญญา ด้วยมูลเหตุ 16 อย่าง ข้อนั้นเป็นความเข้าใจของพวกเขา
ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา ความดิ้นรนของคนมีตัณหาเหมือนกัน
[112] พวกที่มีวาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา บัญญัติอัตตา
หลังจากตายแล้วว่าไม่มีสัญญา ด้วยมูลเหตุ 8 อย่าง ข้อนั้นเป็นความเข้าใจของพวก
เขาผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา ความดิ้นรนของคนมีตัณหาเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :40 }