เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร] สรุปทิฏฐิ 62

นี้ เพราะเหตุไร เพราะปฐมฌานที่มีวิตกมีวิจารนั้นบัณฑิตกล่าวว่า ยังหยาบอยู่
เพราะเหตุที่วิตกวิจารสงบไป อัตตานี้จึงบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม’ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติ
นิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้
[97] 61. (4) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์คน
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่
อัตตานี้ไม่ใช่จะบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมได้เพราะเหตุเพียงเท่านี้
เพราะเหตุไร เพราะทุติยฌานที่ยังมีปีติเป็นเหตุให้จิตเบิกบานนั้นบัณฑิตกล่าวว่า
ยังหยาบอยู่ เพราะเหตุที่ปีติจางคลายไป อัตตานี้จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม’ สมณพราหมณ์
พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้
[98] 62. (5) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์คน
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่
อัตตานี้ไม่ใช่จะบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมได้เพราะเหตุเพียงเท่า
นี้ เพราะเหตุไร เพราะตติยฌานที่จิตยังคำนึงถึงสุขอยู่นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ยังหยาบ
อยู่ เพราะเหตุที่ละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสก่อนดับไปก่อน อัตตานี้
จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ จึงชื่อว่าบรรลุ
นิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม’ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานใน
ปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้

สรุปทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ

[99] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า มีสภาพบางอย่าง
เป็นนิพพานในปัจจุบัน บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่า เป็นบรมธรรมของสัตว์ ด้วย
มูลเหตุ 5 อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกมีวาทะว่า มีสภาพ
บางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :38 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร] สรุปทิฏฐิ 62

สัตว์ ด้วยมูลเหตุทั้ง 5 อย่างนี้ หรือด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 อย่างนี้ ไม่
พ้นไปจากนี้ ฯลฯ อันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้องตามความเป็นจริง
[100] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นกำหนดขันธ์ (สรรพสิ่ง) ส่วน
อนาคต เห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต ประกาศวาทะ
แสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ 44 อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต เห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต
ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุทั้ง 44 อย่างนี้ หรือด้วยมูลเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่งใน 44 อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้ ฯลฯ อันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่อง
ตถาคตถูกต้องตามความเป็นจริง
[101] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต พวกที่
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต และพวกที่กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ล้วนมี
ความเห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตและ
อนาคต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ 62 อย่างนี้แล
[102] ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ที่
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต หรือที่กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ล้วนมีความ
เห็นคล้อยตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตและอนาคต
ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุทั้ง 62 อย่างนี้ หรือด้วยมูลเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่งใน 62 อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้
[103] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ที่บุคคล
ยึดถืออย่างนี้แล้วย่อมมีคติและภพหน้าอย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัด และยังรู้
ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกจึงไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ความดับด้วยตนเอง รู้ความเกิด
ความดับ คุณ โทษแห่งเวทนา และอุบายเครื่องสลัดเวทนาออกตามความเป็นจริง
ตถาคตจึงหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
[104] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ
ประณีต ใช้เหตุผลคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตรู้แจ้งได้
เองแล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามอันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้องตาม
ความเป็นจริง

(ทิฏฐิ 62 จบ)