เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร] ทิฏฐิ 62 อุจเฉทวาทะ 7

อัตตานี้ไม่ใช่ขาดสูญเด็ดขาดเพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่ถึงชั้นวิญญาณัญ-
จายตนะ โดยกำหนดว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดย
ประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เราเห็น อัตตานั้นหลังจากตายแล้วจะขาด
สูญพินาศไม่เกิดอีก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตาจึงขาดสูญเด็ดขาด’ สมณพราหมณ์
พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้
[90] 56. (6) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์คน
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่
อัตตานี้ไม่ใช่ขาดสูญเด็ดขาดเพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่ถึงชั้น
อากิญจัญญายตนะ โดยกำหนดว่าไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้
โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เราเห็น อัตตานั้นหลังจากตายแล้ว
จะขาดสูญพินาศไม่เกิดอีก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตาจึงขาดสูญเด็ดขาด’
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีก
ของสัตว์อย่างนี้
[91] 57. (7) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์คน
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่
อัตตานี้ไม่ใช่ขาดสูญเด็ดขาดเพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่ถึงชั้นเนว-
สัญญานาสัญญายตนะ โดยกำหนดว่านั่นละเอียด นั่นประณีต เพราะล่วง
อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เราเห็น อัตตา
นั้นหลังจากตายแล้วจะขาดสูญพินาศไม่เกิดอีก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตาจึงขาดสูญ
เด็ดขาด’ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่
เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้
[92] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า หลังจากตายแล้ว
อัตตาขาดสูญ บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์ด้วย
มูลเหตุ 7 อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกมีวาทะว่าหลังจาก
ตายแล้วอัตตาขาดสูญ บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีก
ของสัตว์ด้วยมูลเหตุทั้ง 7 อย่างนี้ หรือด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน 7 อย่างนี้
ไม่พ้นไปจากนี้ ฯลฯ อันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :36 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร]
ทิฏฐิ 62 ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ 5

ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ1 5
เห็นว่ามีสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน

[93] ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า มีสภาพบางอย่าง
เป็นนิพพานในปัจจุบัน บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่า เป็นบรมธรรมของสัตว์ ด้วย
มูลเหตุ 5 อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมีวาทะ
ว่า มีสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่า เป็น
บรมธรรมของสัตว์ ด้วยมูลเหตุ 5 อย่าง
[94] 58. (1) สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีวาทะมีทรรศนะอย่างนี้
ว่า ‘ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุที่อัตตานี้เอิบอิ่มเพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ 5 จึงชื่อว่า
บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม’ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพาน
ในปัจจุบันว่า เป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้
[95] 59. (2) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์คน
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่
อัตตานี้ไม่ใช่จะบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมได้เพราะเหตุเพียงเท่า
นี้ เพราะเหตุไร เพราะกามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ผันแปรเป็นธรรมดา เพราะกามนั้น
ผันแปรไปเป็นอื่น ความโศกเศร้า ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย ความไม่
สบายใจ และความคับแค้นใจจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่อัตตานี้สงัดจากกามและ
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่
จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม’ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติ
นิพพานในปัจจุบันว่า เป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้
[96] 60. (3) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์คน
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่
อัตตานี้ไม่ใช่จะบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมได้เพราะเหตุเพียงเท่า

เชิงอรรถ :
1 ลัทธิที่ถือว่า สามารถบรรลุนิพพาน หรือสามารถดับทุกข์ได้โดยง่ายในอัตภาพนี้ เป็นความเข้าใจของ
พวกที่เห็นความเพลิดเพลินจากกามคุณว่าเป็นนิพพาน หรือเห็นความสุขจากฌานว่าเป็นนิพพาน (ที.สี.อ.
97/112)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :37 }