เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร] ทิฏฐิ 62 อุจเฉทวาทะ 7

48. (6) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่
49. (7) อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มี
สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
50. (8) อัตตาที่มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว
มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
[83] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า อัตตาหลังจากตาย
แล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้วว่า มีสัญญา
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยมูลเหตุ 8 อย่างนี้แล ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุก
จำพวกมีวาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บัญญัติ
อัตตาหลังจากตายแล้วว่า มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยมูลเหตุทั้ง 8 อย่าง
นี้ หรือด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน 8 อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้ ฯลฯ อันเป็นเหตุ
ให้คนกล่าวยกย่องตถาคตตามความเป็นจริง

อุจเฉทวาทะ1 7
เห็นว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ

[84] ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่าหลังจากตายแล้ว
อัตตาขาดสูญ บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์
ด้วยมูลเหตุ 7 อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมี
วาทะว่า หลังจากตายแล้ว อัตตาขาดสูญ บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และ
ความไม่เกิดอีกของสัตว์ ด้วยมูลเหตุ 7 อย่าง
[85] 51. (1) สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีวาทะมีทรรศนะอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้เจริญ อัตตานี้มีรูปมาจากมหาภูตรูป 4 เกิดจากบิดามารดา หลังจากตายแล้ว
อัตตาย่อมขาดสูญพินาศ ไม่เกิดอีก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้อัตตานี้จึงขาดสูญเด็ดขาด’
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีกของ
สัตว์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 ลัทธิที่ถือว่าตายแล้วไม่เกิดอีก เป็นแนวคิดเชิงวัตถุนิยม ลัทธินี้ทำให้หมกมุ่นในกามสุข (ที.สี.อ. 84/110)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :34 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร] ทิฏฐิ 62 อุจเฉทวาทะ 7

[86] 52. (2) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์คน
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่
อัตตานี้ไม่ใช่ขาดสูญเด็ดขาดเพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เป็นทิพย์ มีรูปเป็น
กามาวจร1 บริโภคข้าวเป็นอาหาร ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เราเห็น อัตตานั้น
หลังจากตายแล้วจะขาดสูญพินาศ ไม่เกิดอีก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้อัตตาจึงขาดสูญ
เด็ดขาด’ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่
เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้
[87] 53. (3) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์คน
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่
อัตตานี้ไม่ใช่ขาดสูญเด็ดขาดเพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เป็นทิพย์ มีรูป
สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้
เราเห็น อัตตานั้นหลังจากตายแล้วจะขาดสูญพินาศไม่เกิดอีก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อัตตาจึงขาดสูญเด็ดขาด’ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความ
พินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้
[88] 54. (4) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์
คนนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี
แต่อัตตานี้ไม่ใช่ขาดสูญเด็ดขาดเพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่ถึงชั้น
อากาสานัญจายตนะ โดยกำหนดว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับ
ปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่
เรารู้เราเห็น อัตตานั้นหลังจากตายแล้วจะขาดสูญพินาศไม่เกิดอีก ด้วยเหตุเพียงเท่า
นี้อัตตาจึงขาดสูญเด็ดขาด’ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความ
พินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้
[89] 55. (5) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์คน
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่

เชิงอรรถ :
1 เทวดาชั้นกามาวจร 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี (ที.สี.อ.
86/111)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :35 }