เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร] ทิฏฐิ 62 สัญญีวาทะ 16

[72] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ที่บุคคลยึด
ถืออย่างนี้แล้ว ย่อมมีคติและภพหน้าอย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัด และยัง
รู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกจึงไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ความดับด้วยตนเอง รู้ความ
เกิด ความดับ คุณ โทษแห่งเวทนา และอุบายเครื่องสลัดเวทนาออกตามความเป็น
จริง ตถาคตจึงหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
[73] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ
ประณีต ใช้เหตุผลคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตรู้แจ้งได้
เองแล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามอันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้องตาม
ความเป็นจริง

อปรันตกัปปิกวาทะ 44
ความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต

[74] ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ (สรรพสิ่ง) ส่วน
อนาคต เห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต ประกาศวาทะ
แสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ 44 อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัย
อะไรปรารภอะไรจึงกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต เห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภ
ขันธ์ส่วนอนาคต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยมูลเหตุ 44 อย่าง

สัญญีวาทะ1 16
เห็นว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญา

[75] ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า อัตตาหลังจากตาย
แล้วมีสัญญา บัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้วว่ามีสัญญา ด้วยมูลเหตุ 16 อย่าง ก็
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมีวาทะว่า อัตตาหลังจาก
ตายแล้วมีสัญญา บัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้วว่ามีสัญญา ด้วยมูลเหตุ 16 อย่าง

เชิงอรรถ :
1 ลัทธิที่ถือว่า หลังจากตายแล้วอัตตายังมีสัญญาเหลืออยู่ คำว่า สัญญา ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความจำได้
หมายรู้ธรรมดา แต่หมายถึงภาวะที่เป็นความรู้สึกรู้ขั้นละเอียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :30 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร] ทิฏฐิ 62 สัญญีวาทะ 16

[76] สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมบัญญัติว่า
19. (1) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญา
20. (2) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญา
21. (3) อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญา
22. (4) อัตตาที่มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมี
สัญญา
23. (5) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญา
24. (6) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญา
25. (7) อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมี
สัญญา
26. (8) อัตตาที่มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตาย
แล้วมีสัญญา
27. (9) อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมี
สัญญา
28. (10) อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญา
29. (11) อัตตาที่มีสัญญาเล็กน้อย ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญา
30. (12) อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว
มีสัญญา
31. (13) อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญา
32. (14) อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญา
33. (15) อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีสัญญา
34. (16) อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ มีสุขก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมี
สัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :31 }