เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร]
ทิฏฐิ 62 อมราวิกเขปวาทะ 4

หาที่สุดไม่ได้ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จ แม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ทั้งมีที่สุด
และไม่มีที่สุด ก็เป็นผู้กล่าวเท็จ (ที่จริงแล้ว) โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่’
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ 4 ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ
แล้ว จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด

สรุปอันตานันติกวาทะ

[58] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลก
ไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ด้วยมูลเหตุ 4 อย่างนี้แล ก็
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ด้วยมูลเหตุ
ทั้ง 4 อย่างนี้หรือด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้
[59] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ที่บุคคล
ยึดถืออย่างนี้แล้วย่อมมีคติและภพหน้าอย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัด และยังรู้
ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกจึงไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ความดับด้วยตนเอง รู้ความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดเวทนาออกตามความเป็นจริง ตถาคตจึง
หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
[60] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ
ประณีต ใช้เหตุผลคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตรู้แจ้งได้
เองแล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามอันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้องตาม
ความเป็นจริง

อมราวิกเขปวาทะ1 4
ความเห็นหลบเลี่ยง ไม่แน่นอน

[61] ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะหลบเลี่ยงไม่แน่นอน
พอถูกถามปัญหาในประเด็นนั้น ๆ ย่อมกล่าวหลบเลี่ยงไม่แน่นอนด้วยมูลเหตุ 4
อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมีวาทะหลบเลี่ยง

เชิงอรรถ :
1 ลัทธิที่มีความเห็นหลบเลี่ยงไม่แน่นอนว่าใช่หรือไม่ใช่ เป็นความเห็นที่ลื่นไหลจับได้ยากเหมือนปลาไหล
(ที.สี.อ. 61/106)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :24 }