เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร]
ทิฏฐิ 62 อันตานันติกวาทะ 4

มูลเหตุที่ 1

[54] 9. (1) ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่
ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิต
ให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจว่าโลกมีที่สุด
เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้มีที่สุด มีสัณฐานกลม เพราะเหตุไร เพราะเราอาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่
ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำ
จิตให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจว่าโลกมีที่สุด เพราะการบรรลุคุณวิเศษนี้ เราจึงรู้อาการที่โลก
นี้มีที่สุด และมีสัณฐานกลม’
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ 1 ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ
แล้ว จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด

มูลเหตุที่ 2

[55] 10. (2) อนึ่ง ในมูลเหตุที่ 2 สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร
ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี
ที่สุด ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัยความเพียรเครื่อง
เผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัย
การใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจว่า
โลกไม่มีที่สุด
เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดไม่ได้ สมณพราหมณ์ที่กล่าวอย่าง
นี้ว่า โลกนี้มีที่สุด มีสัณฐานกลม เป็นผู้กล่าวเท็จ (ที่จริงแล้ว) โลกนี้ไม่มีที่สุด หา
ที่สุดไม่ได้ เพราะเหตุไร เพราะเราอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้ง
มั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว
บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดไม่ได้
เพราะการบรรลุคุณวิเศษนี้ เราจึงรู้อาการที่โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดไม่ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :22 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร]
ทิฏฐิ 62 อันตานันติกวาทะ 4

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ 2 ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ
แล้ว จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด

มูลเหตุที่ 3

[56] 11. (3) อนึ่ง ในมูลเหตุที่ 3 สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร
ปรารภอะไรจึงมีวาทะว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี
ที่สุด ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัยความเพียรเครื่อง
เผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการ
ใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจโลกว่า
ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวางไม่มีที่สุด
เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด สมณพราหมณ์ที่กล่าวอย่าง
นี้ว่า โลกนี้มีที่สุด มีสัณฐานกลม เป็นผู้กล่าวเท็จ แม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวอย่าง
นี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดไม่ได้ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จ (ที่จริงแล้ว) โลกนี้ทั้งมีที่สุด
และไม่มีที่สุด เพราะเหตุไร เพราะเราอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่
ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี
แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจโลกว่า ด้านบนด้านล่างมีที่สุด
ด้านขวางไม่มีที่สุด เพราะการบรรลุคุณวิเศษนี้ เราจึงรู้อาการที่โลกนี้ทั้งมีที่สุดและ
ไม่มีที่สุด’
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ 3 ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ
แล้ว จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด

มูลเหตุที่ 4

[57] 12. (4) อนึ่ง ในมูลเหตุที่ 4 สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภ
อะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นนักตรรกะ เป็นนัก
อภิปรัชญา แสดงทรรศนะของตนตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริงอย่างนี้
ว่า ‘โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ สมณพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุด
มีสัณฐานกลม เป็นผู้กล่าวเท็จ แม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :23 }