เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร]
ทิฏฐิ 62 อันตานันติกวาทะ 4

มูลเหตุที่ 1

[54] 9. (1) ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่
ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิต
ให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจว่าโลกมีที่สุด
เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้มีที่สุด มีสัณฐานกลม เพราะเหตุไร เพราะเราอาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่
ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำ
จิตให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจว่าโลกมีที่สุด เพราะการบรรลุคุณวิเศษนี้ เราจึงรู้อาการที่โลก
นี้มีที่สุด และมีสัณฐานกลม’
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ 1 ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ
แล้ว จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด

มูลเหตุที่ 2

[55] 10. (2) อนึ่ง ในมูลเหตุที่ 2 สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร
ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี
ที่สุด ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัยความเพียรเครื่อง
เผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัย
การใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจว่า
โลกไม่มีที่สุด
เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดไม่ได้ สมณพราหมณ์ที่กล่าวอย่าง
นี้ว่า โลกนี้มีที่สุด มีสัณฐานกลม เป็นผู้กล่าวเท็จ (ที่จริงแล้ว) โลกนี้ไม่มีที่สุด หา
ที่สุดไม่ได้ เพราะเหตุไร เพราะเราอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้ง
มั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว
บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น จึงเข้าใจว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดไม่ได้
เพราะการบรรลุคุณวิเศษนี้ เราจึงรู้อาการที่โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดไม่ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :22 }