เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [9.โปฏฐปาทสูตร]
เปรียบด้วยชายหลงรักหญิงงามแห่งชนบท

หรือนางศูทร’ เมื่อถูกถามอย่างนี้เขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอ
รู้จักหญิงคนนั้นหรือว่ามีชื่อ ตระกูล สูง ต่ำ สันทัด ดำ คล้ำ หรือผิวเหลือง อยู่ใน
หมู่บ้าน นิคม หรือเมืองโน้น’ เมื่อถูกถามอย่างนี้เขาจะตอบว่า ‘ยังไม่รู้จัก’ จะถูก
ถามต่อไปว่า ‘เธอปรารถนารักใคร่หญิงที่ยังไม่เคยรู้จักทั้งไม่เคยเห็นอย่างนั้นหรือ’
เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’
โปฏฐปาทะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้น
ถือว่าเลื่อนลอย มิใช่หรือ”
เขากราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่า
เลื่อนลอยแน่นอน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ แม้สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะมีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ปลอดภัย’ ก็เช่นกัน เราเข้าไปหา
สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วถามว่า ‘ท่านมีวาทะมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ปลอดภัย จริงหรือ’ ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกถามอย่าง
นี้ ยังยืนยันว่า ‘จริง’ เราจะถามว่า ‘ก็ท่านรู้ท่านเห็นโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวหรือ’
เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้ไม่เห็น’
เราจะถามว่า ‘ท่านรู้อัตตาที่มีสุขโดยส่วนเดียวตลอด 1 วัน ตลอด 1 คืน
หรือตลอดครึ่งวันตลอดครึ่งคืนหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้’
เราจะถามว่า ‘ก็ท่านรู้ว่า นี้เป็นทาง นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุโลกที่มีสุขโดยส่วน
เดียวหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้’
เราจะถามว่า ‘ก็ท่านได้ยินเสียงพวกเทวดาผู้บังเกิดในโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว
ซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพื่อบรรลุโลกที่มีสุขโดย
ส่วนเดียว ถึงข้าพเจ้าก็ปฏิบัติอย่างนี้จึงบังเกิดในโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว หรือ’ เมื่อ
ถูกถามอยู่อย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่ได้ยิน’
โปฏฐปาทะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ”
เขากราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
ถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :188 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [9.โปฏฐปาทสูตร]
เปรียบด้วยคนสร้างบันได

เปรียบด้วยคนสร้างบันได

[427] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ เปรียบเหมือนบุรุษทำบันไดที่
หนทางใหญ่สี่แพร่งเพื่อขึ้นปราสาท คนจะถามเขาว่า ‘พ่อคุณ เธอจะทำบันไดขึ้น
ปราสาท เธอรู้จักปราสาทนั้นหรือว่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก
หรือทิศเหนือ มีขนาดสูง ต่ำ หรือปานกลาง’ เมื่อถูกถามอย่างนี้เขาจะตอบว่า
‘ยังไม่รู้’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอจะทำบันไดขึ้นปราสาทที่ยังไม่เคยรู้จักไม่เคยเห็น
อย่างนั้นหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’
โปฏฐปาทะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของบุรุษนั้น
ถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ”
เขากราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของบุรุษนั้นถือว่า
เลื่อนลอยแน่นอน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ แม้สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะมีทิฏฐิอย่าง
นี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วอัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ปลอดภัย’ ก็เช่นกัน เราเข้าไปหา
สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วถามว่า ‘ท่านมีวาทะมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ปลอดภัย จริงหรือ’ ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกถามอย่าง
นี้ ยังยืนยันว่า ‘จริง’ เราจะถามว่า ‘ก็ท่านรู้ ท่านเห็นโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวหรือ’
เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้ไม่เห็น’
เราจะถามว่า ‘ท่านรู้อัตตาที่มีสุขโดยส่วนเดียวตลอด 1 วัน ตลอด 1 คืน
หรือตลอดครึ่งวันตลอดครึ่งคืนหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้’
เราจะถามว่า ‘ก็ท่านรู้ว่า นี้เป็นทาง นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว
หรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้’
เราจะถามว่า ‘ก็ท่านได้ยินเสียงพวกเทวดาผู้บังเกิดในโลกที่มีสุขโดยส่วน
เดียว ซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพื่อบรรลุโลกที่มีสุขโดย
ส่วนเดียว ถึงข้าพเจ้าก็ปฏิบัติอย่างนี้จึงบังเกิดในโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวหรือ’ เมื่อ
ถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่ได้ยิน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :189 }