เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [9.โปฏฐปาทสูตร] ว่าด้วยสัญญาและอัตตา

สัญญากับอัตตาก็เป็นคนละอย่างกัน ตามข้อนี้ท่านพึงทราบโดยปริยายว่า สัญญา
กับอัตตาเป็นคนละอย่างกัน อัตตาหยาบซึ่งมีรูปที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป 4
บริโภคอาหารเป็นคำ ๆ นี้ จงยกไว้ก่อน ถ้าสัญญาของคนที่พูดถึงนี้อย่างหนึ่งเกิด
และอีกอย่างหนึ่งดับ ท่านก็พึงทราบโดยปริยายนี้ว่า สัญญากับอัตตาเป็นคนละ
อย่างกัน”
[418] เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงอัตตา
ที่สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นเป็นอัตตาที่สำเร็จ
ด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เมื่อเป็นเช่นนี้ สัญญากับอัตตา
ก็เป็นคนละอย่างกัน ตามข้อนี้ ท่านก็พึงทราบโดยปริยายนี้ว่า สัญญากับอัตตาเป็น
คนละอย่างกัน อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง จงยก
ไว้ก่อน ถ้าสัญญาของคนที่พูดถึงนี้อย่างหนึ่งเกิดและอีกอย่างหนึ่งดับ ท่านก็พึง
ทราบโดยปริยายนี้ว่า สัญญากับอัตตาเป็นคนละอย่างกัน”
[419] เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงอัตตาที่
ไม่มีรูป สำเร็จด้วยสัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นเป็นอัตตาที่ไม่มี
รูป สำเร็จด้วยสัญญา เมื่อเป็นเช่นนี้ สัญญากับอัตตาก็เป็นคนละอย่างกัน ตามข้อ
นี้ ท่านก็พึงทราบโดยปริยายนี้ว่า สัญญากับอัตตาเป็นคนละอย่างกัน อัตตาที่ไม่มี
รูปสำเร็จด้วยสัญญา จงยกไว้ก่อน ถ้าสัญญาของคนที่พูดถึงนี้อย่างหนึ่งเกิดและ
อีกอย่างหนึ่งดับ ท่านก็พึงทราบโดยปริยายนี้ว่า สัญญากับอัตตาเป็นคนละอย่างกัน”
[420] เขาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจรู้ได้ไหมว่า
สัญญาเป็นอัตตาของคน หรือว่าสัญญากับอัตตาเป็นคนละอย่างกัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โปฏฐปาทะ ท่านมีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความถูก
ใจแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความมุ่งหมายแตกต่างกัน มีอาจารย์
แตกต่างกัน จึงเข้าใจได้ยากว่า สัญญาเป็นอัตตาของคน หรือว่าสัญญากับอัตตา
เป็นคนละอย่างกัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :182 }