เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร]
ทิฏฐิ 62 เอกัจจสัสสตวาทะ 4

มูลเหตุที่ 1

[44] 5. (1) ข้อที่สัตว์ผู้จุติ (เคลื่อน) จากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้1 เป็น
เรื่องที่เป็นไปได้ เมื่อเขามาเป็นอย่างนี้แล้วออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิต เมื่อ
บวชแล้วอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ
ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็น
เหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกถึงชาติก่อนนั้นได้ ถัดจากนั้นไประลึกไม่ได้
เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เป็นพระพรหมผู้เจริญ เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่
ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้
ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิด พระ
พรหมผู้เจริญบันดาลพวกเราขึ้นมา ท่านเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร จัก
ดำรงอยู่เที่ยงแท้ไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญนั้นบันดาลขึ้น
มากลับเป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน อายุสั้น ต้องจุติมาเป็นอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ 1 ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ
แล้วจึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่าง
เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง

มูลเหตุที่ 2

[45] 6. (2) อนึ่ง ในมูลเหตุที่ 2 สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร
ปรารภอะไรจึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก
ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาพวกหนึ่งชื่อว่า
ขิฑฑาปโทสิกะ เทวดาพวกนั้นหมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนานสรวลเสเฮฮาเกินเวลา
เมื่อหมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนานสรวลเสเฮฮาเกินเวลาย่อมหลงลืมสติ เพราะหลง
ลืมสติจึงพากันจุติจากชั้นนั้น

เชิงอรรถ :
1 จากพรหมโลกมาเกิดเป็นมนุษย์ (ที.สี.อ. 44/104-105)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :18 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร]
ทิฏฐิ 62 เอกัจจสัสสตวาทะ 4

[46] ข้อที่สัตว์ผู้จุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เมื่อ
เขามาเป็นอย่างนี้แล้วออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความ
เพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท
และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น
ระลึกถึงชาติก่อนนั้นได้ ถัดจากนั้นไประลึกไม่ได้
เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘พวกเทวดาผู้เจริญ ผู้ไม่ใช่เหล่าขิฑฑาปโทสิกะย่อมไม่
หมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนานสรวลเสเฮฮาเกินเวลา เมื่อไม่หมกมุ่นอยู่ในความ
สนุกสนานสรวลเสเฮฮาเกินเวลาย่อมไม่หลงลืมสติ เพราะไม่หลงลืมสติจึงไม่จุติจาก
ชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร จักดำรงอยู่เที่ยงแท้ไปเช่นนั้นทีเดียว
ส่วนพวกเราเหล่าขิฑฑาปโทสิกะมัวแต่หมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนานสรวลเสเฮฮา
เกินเวลา เมื่อหมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนานสรวลเสเฮฮาเกินเวลาย่อมหลงลืมสติ
เพราะหลงลืมสติจึงต้องจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน อายุสั้น ต้องจุติมา
เป็นอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ 2 ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ
แล้ว จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บาง
อย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง

มูลเหตุที่ 3

[47] 7. (3) อนึ่ง ในมูลเหตุที่ 3 สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร
ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า
บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาพวกหนึ่งชื่อว่ามโนปโทสิกะ
เทวดาพวกนั้นมัวจ้องจับผิดกันและกันเกินควร เมื่อมัวจ้องจับผิดกันและกันเกิน
ควรจึงคิดมุ่งร้ายต่อกัน เมื่อคิดมุ่งร้ายต่อกันจึงเหนื่อยกายเหนื่อยใจพากันจุติจาก
ชั้นนั้น
[48] ข้อที่สัตว์ผู้จุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เมื่อ
เขามาเป็นอย่างนี้แล้วออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :19 }