เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [8.มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยทรงบันลืออย่างองอาจดังพญาราชสีห์

ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ บรรลุทุติยฌานอยู่ บรรลุตติยฌานอยู่ บรรลุ
จตุตถฌานอยู่ นี้แลเป็นจิตสัมปทา
เมื่อมีจิตเป็นสมาธิอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ ฯลฯ1 รู้ชัด
ว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป นี้แลเป็นปัญญาสัมปทา
กัสสปะ สีลสัมปทา จิตสัมปทา และปัญญาสัมปทาอย่างอื่นที่ยอดเยี่ยม
กว่าและประณีตกว่าสีลสัมปทา จิตสัมปทา และปัญญาสัมปทานี้ไม่มีอีกแล้ว

ว่าด้วยทรงบันลืออย่างองอาจดังพญาราชสีห์

[402] กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งพูดเรื่องศีล กล่าวสรรเสริญศีล
มากมาย ศีลอันยอดเยี่ยมมีเท่าไร เรายังไม่เห็นผู้จะทัดเทียมเราได้ในเรื่องนั้น จะไป
หาผู้ที่ยิ่งกว่าเราจากไหนเล่า ที่แท้ เราผู้เดียวเป็นผู้ล้ำเลิศในศีลอันยอดเยี่ยม คือ
อธิศีล
กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งพูดเรื่องตบะที่กีดกันกิเลส กล่าวสรรเสริญ
ตบะที่กีดกันกิเลสมากมาย ตบะที่กีดกันกิเลสอย่างยอดเยี่ยมมีเท่าไร เรายังไม่เห็น
ผู้จะทัดเทียมเราได้ในเรื่องนั้น จะไปหาผู้ที่ยิ่งกว่าเราจากไหนเล่า ที่แท้ เราผู้เดียว
เป็นผู้ล้ำเลิศในตบะที่กีดกันกิเลสอันยอดเยี่ยม คืออธิเชคุจฉะ
กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งพูดเรื่องปัญญา กล่าวสรรเสริญปัญญาไว้
มากมาย ปัญญาอันยอดเยี่ยมมีเท่าไร เรายังไม่เห็นผู้จะทัดเทียมเราได้ในเรื่องนั้น
จะไปหาผู้ที่ยิ่งกว่าเราจากไหนเล่า ที่แท้ เราผู้เดียวเป็นผู้ล้ำเลิศในปัญญาอันยอด
เยี่ยม คืออธิปัญญา
กัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งพูดเรื่องความหลุดพ้น กล่าวสรรเสริญ
ความหลุดพ้นไว้มากมาย ความหลุดพ้นอันยอดเยี่ยมมีเท่าไร เรายังไม่เห็นผู้จะ
ทัดเทียมเราได้ในเรื่องนั้น จะไปหาผู้ที่ยิ่งกว่าเราจากไหนเล่า ที่แท้ เราผู้เดียวเป็นผู้
ล้ำเลิศในเรื่องความหลุดพ้น คืออธิวิมุตติ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในสามัญญผลสูตร ข้อ 194-249

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :171 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [8.มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยทรงบันลืออย่างองอาจดังพญาราชสีห์

[403] กัสสปะ เป็นไปได้ที่พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์จะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระ
สมณโคดมทรงบันลือสีหนาท1 แต่ทรงบันลือในเรือนว่างเท่านั้น ไม่ทรงบันลือใน
บริษัท2เลย’ ท่านพึงบอกพวกเขาว่า ‘พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น พระสมณโคดม
ทรงบันลือสีหนาทและทรงบันลือในบริษัทด้วย’
กัสสปะ เป็นไปได้ที่พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์จะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณ-
โคดมทรงบันลือสีหนาทและทรงบันลือในบริษัท แต่ไม่ทรงบันลืออย่างองอาจ’ ท่าน
พึงบอกพวกเขาว่า ‘พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น พระสมณโคดมทรงบันลือสีหนาท
และทรงบันลือในบริษัท พร้อมทั้งทรงบันลืออย่างองอาจด้วย’
กัสสปะ เป็นไปได้ที่พวกปริพาชกอัญเดียรถีย์จะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณ-
โคดมทรงบันลือสีหนาทและทรงบันลือในบริษัท พร้อมทั้งทรงบันลืออย่างองอาจ
แต่เทวดาและมนุษย์ไม่ได้ทูลถามปัญหา ฯลฯ และเทวดาและมนุษย์ทูลถามปัญหา
แต่พระองค์ก็ทรงตอบไม่ได้ ฯลฯ และพระองค์ทรงตอบได้ แต่ก็ทำให้ผู้ถามพอใจไม่ได้
ฯลฯ และพระองค์ทรงทำให้ผู้ถามพอใจได้ แต่พวกเขาก็ไม่สนใจฟัง ฯลฯ และพวก
เขาสนใจฟัง แต่ก็ไม่เลื่อมใส ฯลฯ และพวกเขาเลื่อมใสแต่ก็ไม่แสดงออก ฯลฯ และ
พวกเขาแสดงออก แต่ก็ไม่ปฏิบัติตาม ฯลฯ และพวกเขาปฏิบัติตาม แต่ก็ไม่ชื่นชม
ยินดี’ ท่านพึงบอกพวกเขาว่า ‘พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น พระสมณโคดมทรง
บันลือสีหนาท ทรงบันลือในบริษัทและทรงบันลืออย่างองอาจ เทวดาและมนุษย์พา
กันทูลถามปัญหา พระองค์ทรงตอบได้ พระองค์ทรงทำให้ผู้ถามพอใจได้ พวกเขาก็
สนใจฟัง ฟังแล้วก็เลื่อมใส เลื่อมใสแล้วก็แสดงออก แสดงออกแล้วก็ปฏิบัติตาม
เมื่อปฏิบัติตามต่างก็ชื่นชมยินดี’

เชิงอรรถ :
1 ทรงบันลือสีหนาท หมายถึง คำพูดที่ตรัสด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะทรง
มั่นพระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา 1/403/432)
2 บริษัท ในที่นี้หมายถึง กลุ่มของบุคคลหลายสถานะที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อต้องการจะฟังพระธรรม-
เทศนา มี 8 กลุ่มคือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกาบริษัท
ตาวติงสบริษัท มารบริษัท และพรหมบริษัท (ม.มู. 12/151/112, ที.สี.อ. 403/297)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :172 }