เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [8.มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะที่ไร้ประโยชน์

เพราะสมณะหรือพราหมณ์จักได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่รู้ได้ยากแสนยาก ก็ต่อเมื่อได้เว้น
จากการปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ และจากการบำเพ็ญตบะเช่นนี้ ฉะนั้นจึงควรกล่าวว่า
‘สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก’ หากภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่
มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะ
บ้าง ว่าพราหมณ์บ้าง
แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร
ฯลฯ กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร กินผลไม้หล่นยังชีพ ถ้าสมณะหรือพราหมณ์
ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่รู้ได้ยากแสนยากจักมีได้ด้วยการปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ และด้วยการ
บำเพ็ญตบะดังกล่าวนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า ‘สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์
เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก’
เพราะคหบดีหรือบุตรคหบดีแม้กระทั่งนางกุมภทาสีก็อาจรู้จักสมณะและ
พราหมณ์นั้นได้ด้วยกล่าวว่า ‘ผู้นี้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร
ฯลฯ กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร กินผลไม้หล่นยังชีพ’
เพราะสมณะหรือพราหมณ์จักได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่รู้ได้ยากแสนยาก ก็ต่อเมื่อได้เว้น
จากการปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ และจากการบำเพ็ญตบะเช่นนี้ ฉะนั้นจึงควรกล่าวว่า
‘สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก’ หากภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่าสมณะ
บ้าง ว่าพราหมณ์บ้าง
แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นผู้นุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน ฯลฯ อาบน้ำ
วันละ 3 ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ ถ้าสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก
แสนยาก จักมีได้ด้วยการปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ และด้วยการบำเพ็ญตบะดังกล่าวนี้
แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า ‘สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :169 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [8.มหาสีหนาทสูตร]
ความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้น

เพราะคหบดีหรือบุตรคหบดีแม้กระทั่งนางกุมภทาสีก็อาจรู้จักสมณะและ
พราหมณ์นั้นได้ด้วยกล่าวว่า ‘ผู้นี้นุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน ฯลฯ อาบน้ำ
วันละ 3 ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ’
เพราะสมณะหรือพราหมณ์จักได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่รู้ได้ยากแสนยาก ก็ต่อเมื่อได้เว้น
จากการปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ และจากการบำเพ็ญตบะเช่นนี้ ฉะนั้นจึงควรกล่าวว่า
‘สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก’ หากภิกษุเจริญเมตตาจิตอัน
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ทำให้รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่า
สมณะบ้าง ว่าพราหมณ์บ้าง”

ความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้น

[400] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ อเจลกัสสปะทูลถามว่า “ท่านพระ
โคดม สีลสัมปทานั้นเป็นอย่างไร จิตสัมปทานั้นเป็นอย่างไร ปัญญาสัมปทานั้นเป็น
อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กัสสปะ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ประกอบด้วยกายกรรมและวจีกรรมอันเป็นกุศล มี
อาชีวะบริสุทธิ์ สมบูรณ์ด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย สมบูรณ์ด้วย
สติสัมปชัญญะ(และ)เป็นผู้สันโดษ
[401] ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละ
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู
มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ข้อนี้จัดเป็นสีลสัมปทาของภิกษุอย่างหนึ่ง ฯลฯ
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยอันตรายจากการสำรวมในศีล
เลย เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกเป็นพระราชา กำจัดข้าศึกได้แล้ว ย่อม
ไม่ประสบภัยอันตรายจากข้าศึกเลย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยอริยสีลขันธ์อย่างนี้ ย่อม
เสวยสุขอันไม่มีโทษในภายใน กัสสปะ ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล นี้
แลเป็นสีลสัมปทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :170 }