เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [8.มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะที่ไร้ประโยชน์

เลียมือ ฯลฯ ถือการบริโภคอาหาร 15 วันต่อ 1 มื้อเช่นนี้ ถ้าสามัญคุณหรือ
พรหมัญคุณ ซึ่งถือว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากแสนยากจักมีได้ด้วยการปฏิบัติเล็ก ๆ
น้อย ๆ และด้วยการบำเพ็ญตบะดังกล่าวนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า ‘สามัญคุณเป็น
กิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก’
เพราะคหบดีหรือบุตรคหบดีแม้กระทั่งนางกุมภทาสีก็อาจจะทำสามัญคุณ
และพรหมัญคุณนั้นได้ด้วยกล่าวว่า ‘เอาเถอะ เราจะเป็นอเจลก ไม่มีมารยาท เลีย
มือ ฯลฯ ถือการบริโภคอาหาร 15 วันต่อ 1 มื้อเช่นนี้’
เพราะสามัญคุณหรือพรหมัญคุณจักได้ชื่อว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากแสนยาก ก็ต่อ
เมื่อได้เว้นจากการปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ และจากการบำเพ็ญตบะเช่นนี้ ฉะนั้นจึง
ควรกล่าวว่า ‘สามัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก’ หาก
ภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุนี้เราเรียกว่าสมณะบ้าง ว่าพราหมณ์บ้าง
แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร
ฯลฯ กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร กินผลไม้หล่นยังชีพ ถ้าสามัญคุณหรือ
พรหมัญคุณ ซึ่งถือว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากแสนยาก จักมีได้ด้วยการปฏิบัติเล็ก ๆ
น้อย ๆ และด้วยการบำเพ็ญตบะดังกล่าวนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า ‘สามัญคุณเป็น
กิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก’
เพราะคหบดีหรือบุตรคหบดี แม้กระทั่งนางกุมภทาสีก็อาจจะทำสามัญคุณ
และพรหมัญคุณนั้นได้ด้วยกล่าวว่า ‘เอาเถอะ เราจะกินผักดองเป็นอาหาร กิน
ข้าวฟ่างเป็นอาหาร ฯลฯ กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร กินผลไม้หล่นยังชีพ’
เพราะสามัญคุณหรือพรหมัญคุณจักได้ชื่อว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากแสนยาก ก็ต่อ
เมื่อได้เว้นจากการปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ และจากการบำเพ็ญตบะเช่นนี้ ฉะนั้นจึง
ควรกล่าวว่า ‘สามัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก’ หาก
ภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุนี้เราเรียกว่าสมณะบ้าง ว่าพราหมณ์บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :167 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [8.มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะที่ไร้ประโยชน์

แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นผู้นุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน ฯลฯ อาบน้ำวัน
ละ 3 ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ ถ้าสามัญคุณหรือพรหมัญคุณซึ่งถือว่าเป็นกิจที่ทำ
ได้ยากแสนยาก จักมีได้ด้วยการปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ และด้วยการบำเพ็ญตบะ
ดังกล่าวนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า ‘สามัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็น
กิจที่ทำได้ยาก’
เพราะคหบดีหรือบุตรคหบดี แม้กระทั่งนางกุมภทาสี ก็อาจจะทำสามัญคุณ
และพรหมัญคุณนั้นได้ด้วยกล่าวว่า ‘เอาเถอะ เราจะนุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้า
แกมกัน ฯลฯ อาบน้ำวันละ 3 ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ’
เพราะสามัญคุณหรือพรหมัญคุณจักได้ชื่อว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากแสนยาก ก็ต่อ
เมื่อได้เว้นจากการปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ และจากการบำเพ็ญตบะเช่นนี้ ฉะนั้นจึง
ควรกล่าวว่า ‘สามัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก พรหมัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก’ หาก
ภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุนี้เราเรียกว่าสมณะบ้าง ว่าพราหมณ์บ้าง”
[399] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ อเจลกัสสปะกราบทูลว่า “ท่าน
พระโคดม สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อที่สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์เป็นผู้ที่รู้ได้
ยากเป็นเรื่องปกติในโลก แม้ถ้าสมณพราหมณ์เป็นอเจลก ไม่มีมารยาท เลียมือ
ฯลฯ ถือการบริโภคอาหาร 15 วันต่อ 1 มื้อเช่นนี้ ถ้าสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งถือ
ว่าเป็นผู้ที่รู้ได้ยากแสนยากจักมีได้ด้วยการปฏิบัติเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ และด้วยการ
บำเพ็ญตบะดังกล่าวนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า ‘สมณะเป็นผู้ที่รู้ได้ยาก พราหมณ์
เป็นผู้ที่รู้ได้ยาก’
เพราะคหบดีหรือบุตรคหบดีแม้กระทั่งนางกุมภทาสีก็อาจรู้จักสมณะและ
พราหมณ์นั้นได้ด้วยกล่าวว่า ‘ผู้นี้เป็นอเจลก ไม่มีมารยาท เลียมือ ฯลฯ ถือการ
บริโภคอาหาร 15 วันต่อ 1 มื้อเช่นนี้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :168 }