เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [8.มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการไล่เลียงสอบสวน

ประเสริฐก็จัดว่าประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายดีก็จัดว่าเป็นฝ่ายดี ใครเล่าที่สมาทาน
ประพฤติธรรมเหล่านี้ได้ครบถ้วน พระสมณโคดมหรือว่าคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น
กันแน่’
[388] กัสสปะ เป็นไปได้ที่วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนจะพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นกุศลก็จัดว่าเป็นกุศล ที่ไม่มีโทษก็จัดว่า
ไม่มีโทษ ที่ควรเสพก็จัดว่าควรเสพ ที่ประเสริฐก็จัดว่าประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายดีก็จัด
ว่าเป็นฝ่ายดี พระสมณโคดมสมาทานประพฤติธรรมเหล่านี้ได้ครบถ้วน หรือว่า
คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่’ ในเรื่องนั้น วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน
อย่างนี้ โดยมากจะสรรเสริญพวกเราฝ่ายเดียวเท่านั้น
[389] ยังมีอีก กัสสปะ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบ
เทียบศาสดากับศาสดา หมู่สาวกกับหมู่สาวกว่า ‘ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็น
อกุศลก็จัดว่าเป็นอกุศล ที่มีโทษก็จัดว่ามีโทษ ที่ไม่ควรเสพก็จัดว่าไม่ควรเสพ ที่ไม่
ประเสริฐ ก็จัดว่าไม่ประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายชั่วก็จัดว่าเป็นฝ่ายชั่ว ใครเล่าที่ละธรรม
เหล่านี้ได้เด็ดขาด หมู่สาวกของพระสมณโคดมหรือว่าหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้
เจริญเหล่าอื่นกันแน่’
[390] กัสสปะ เป็นไปได้ที่วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนจะพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นอกุศลก็จัดว่าเป็นอกุศล ที่มีโทษก็จัดว่า
มีโทษ ที่ไม่ควรเสพก็จัดว่าไม่ควรเสพ ที่ไม่ประเสริฐก็จัดว่าไม่ประเสริฐ และที่เป็น
ฝ่ายชั่วก็จัดว่าเป็นฝ่ายชั่ว หมู่สาวกของพระสมณโคดมละธรรมเหล่านี้ได้เด็ดขาด
หรือว่าหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่’ ในเรื่องนั้น วิญญูชนเมื่อซักไซ้
ไล่เลียงสอบสวนอย่างนี้ โดยมากจะสรรเสริญพวกเราฝ่ายเดียวเท่านั้น
[391] ยังมีอีก กัสสปะ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบ
เทียบศาสดากับศาสดา หมู่สาวกกับหมู่สาวกว่า ‘ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็น
กุศลก็จัดว่าเป็นกุศล ที่ไม่มีโทษก็จัดว่าไม่มีโทษ ที่ควรเสพก็จัดว่าควรเสพ ที่
ประเสริฐก็จัดว่าประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายดีก็จัดว่าเป็นฝ่ายดี ใครเล่าที่สมาทาน
ประพฤติธรรมเหล่านี้ได้ครบถ้วน หมู่สาวกของพระสมณโคดมหรือว่าหมู่สาวกของ
คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :163 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [8.มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะ

[392] กัสสปะ เป็นไปได้ที่วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนจะพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นกุศลก็จัดว่าเป็นกุศล ที่ไม่มีโทษก็จัดว่า
ไม่มีโทษ ที่ควรเสพก็จัดว่าควรเสพ ที่ประเสริฐก็จัดว่าประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายดีก็จัด
ว่าเป็นฝ่ายดี หมู่สาวกของพระสมณโคดมสมาทานประพฤติธรรมเหล่านี้ได้ครบถ้วน
หรือว่าหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่’ ในเรื่องนั้น วิญญูชนเมื่อซักไซ้
ไล่เลียงสอบสวนอย่างนี้ โดยมากจะสรรเสริญพวกเราฝ่ายเดียวเท่านั้น

อริยมรรคมีองค์ 8

[393] กัสสปะ มีทาง มีข้อปฏิบัติ ที่ผู้ปฏิบัติตามจะรู้เองเห็นเองว่า ‘พระ
สมณโคดมตรัสถูกเวลา ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย’
กัสสปะ อะไรคือทาง อะไรคือข้อปฏิบัติ ที่ผู้ปฏิบัติตามจะรู้เองเห็นเองว่า ‘พระ
สมณโคดมตรัสถูกเวลา ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย’
มรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ), สัมมาสังกัปปะ(ดำริ
ชอบ), สัมมาวาจา(เจรจาชอบ), สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ), สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพ
ชอบ), สัมมาวายามะ(พยายามชอบ), สัมมาสติ(ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ(ตั้งจิต
มั่นชอบ) กัสสปะ นี้แลคือทาง คือข้อปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติตามจะรู้เองเห็นเองว่า พระ
สมณโคดมตรัสถูกเวลา ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย”

ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะ

[394] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ อเจลกัสสปะกราบทูลว่า “ท่านพระ
โคดม การบำเพ็ญตบะที่นับว่าเป็นสามัญคุณ1 และเป็นพรหมัญคุณ2 ของ
สมณพราหมณ์แม้เหล่านี้ คือ เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท
เลียมือ เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับ
อาหารที่เขาแบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับ

เชิงอรรถ :
1 หมายถึง สมณกรรม ได้แก่การบำเพ็ญตบะ อันเป็นสิ่งที่ทำให้ความเป็นสมณะสมบูรณ์ ตามความเข้าใจ
ของคนยุคนั้น (ที.สี.อ. 394/292)
2 หมายถึง พราหมณกรรม ได้แก่ข้อปฏิบัติที่ทำให้เป็นพราหมณ์โดยสมบูรณ์ ตามความเข้าใจของคนยุค
นั้น (ที.สี.อ. 394/292)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :164 }