เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [8.มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการไล่เลียงสอบสวน

[384] กัสสปะ มีสมณพราหมณ์บางพวกเป็นบัณฑิต ทรงภูมิปัญญา มักโต้
แย้ง มีท่าทางดังขมังธนู พวกเขาดูเหมือนจะกำจัดทิฏฐิได้ด้วยปัญญา สมณพราหมณ์
เหล่านั้นมีทรรศนะตรงกับเราในบางเรื่อง ไม่ตรงกันกับเราในบางเรื่อง บางประเด็นที่
พวกเขาว่าดี แม้เราก็ว่าดี บางประเด็นที่พวกเขาว่าไม่ดี แม้เราก็ว่าไม่ดี บางประเด็น
ที่พวกเขาว่าดี แต่เราว่าไม่ดี บางประเด็นที่พวกเขาว่าไม่ดี แต่เราว่าดี
บางประเด็นที่เราว่าดี สมณพราหมณ์พวกอื่นก็ว่าดี บางประเด็นที่เราว่าไม่ดี
สมณพราหมณ์พวกอื่นก็ว่าไม่ดี บางประเด็นที่เราว่าดี สมณพราหมณ์พวกอื่นกลับ
ว่าไม่ดี บางประเด็นที่เราว่าไม่ดี สมณพราหมณ์พวกอื่นกลับว่าดี

ว่าด้วยการไล่เลียงสอบสวน

[385] กัสสปะ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุ เรื่องที่ทำให้พวกเรามีวัตรปฏิบัติไม่ตรงกันจงงดไว้ แต่ในเรื่องที่ตรงกัน
วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน เปรียบเทียบศาสดากับศาสดา หมู่สาวกกับหมู่สาวก
ว่า ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นอกุศลก็จัดว่าเป็นอกุศล ที่มีโทษก็จัดว่ามีโทษ
ที่ไม่ควรเสพก็จัดว่าไม่ควรเสพ ที่ไม่ประเสริฐก็จัดว่าไม่ประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายชั่วก็
จัดว่าเป็นฝ่ายชั่ว ใครเล่าที่ละธรรมเหล่านี้ได้เด็ดขาด พระสมณโคดมหรือว่า
คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่’
[386] กัสสปะ เป็นไปได้ที่วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนจะพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นอกุศลก็จัดว่าเป็นอกุศล ที่มีโทษก็จัดว่า
มีโทษ ที่ไม่ควรเสพก็จัดว่าไม่ควรเสพ ที่ไม่ประเสริฐก็จัดว่าไม่ประเสริฐ และที่เป็น
ฝ่ายชั่วก็จัดว่าเป็นฝ่ายชั่ว พระสมณโคดมละธรรมเหล่านี้ได้เด็ดขาด หรือว่า
คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่’ ในเรื่องนั้นวิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน
อย่างนี้ โดยมากจะสรรเสริญพวกเราฝ่ายเดียวเท่านั้น
[387] ยังมีอีก กัสสปะ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบ
เทียบศาสดากับศาสดา หมู่สาวกกับหมู่สาวกว่า ‘ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็น
กุศลก็จัดว่าเป็นกุศล ที่ไม่มีโทษก็จัดว่าไม่มีโทษ ที่ควรเสพก็จัดว่าควรเสพ ที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :162 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [8.มหาสีหนาทสูตร]
ว่าด้วยการไล่เลียงสอบสวน

ประเสริฐก็จัดว่าประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายดีก็จัดว่าเป็นฝ่ายดี ใครเล่าที่สมาทาน
ประพฤติธรรมเหล่านี้ได้ครบถ้วน พระสมณโคดมหรือว่าคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น
กันแน่’
[388] กัสสปะ เป็นไปได้ที่วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนจะพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นกุศลก็จัดว่าเป็นกุศล ที่ไม่มีโทษก็จัดว่า
ไม่มีโทษ ที่ควรเสพก็จัดว่าควรเสพ ที่ประเสริฐก็จัดว่าประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายดีก็จัด
ว่าเป็นฝ่ายดี พระสมณโคดมสมาทานประพฤติธรรมเหล่านี้ได้ครบถ้วน หรือว่า
คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่’ ในเรื่องนั้น วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน
อย่างนี้ โดยมากจะสรรเสริญพวกเราฝ่ายเดียวเท่านั้น
[389] ยังมีอีก กัสสปะ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบ
เทียบศาสดากับศาสดา หมู่สาวกกับหมู่สาวกว่า ‘ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็น
อกุศลก็จัดว่าเป็นอกุศล ที่มีโทษก็จัดว่ามีโทษ ที่ไม่ควรเสพก็จัดว่าไม่ควรเสพ ที่ไม่
ประเสริฐ ก็จัดว่าไม่ประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายชั่วก็จัดว่าเป็นฝ่ายชั่ว ใครเล่าที่ละธรรม
เหล่านี้ได้เด็ดขาด หมู่สาวกของพระสมณโคดมหรือว่าหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้
เจริญเหล่าอื่นกันแน่’
[390] กัสสปะ เป็นไปได้ที่วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนจะพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นอกุศลก็จัดว่าเป็นอกุศล ที่มีโทษก็จัดว่า
มีโทษ ที่ไม่ควรเสพก็จัดว่าไม่ควรเสพ ที่ไม่ประเสริฐก็จัดว่าไม่ประเสริฐ และที่เป็น
ฝ่ายชั่วก็จัดว่าเป็นฝ่ายชั่ว หมู่สาวกของพระสมณโคดมละธรรมเหล่านี้ได้เด็ดขาด
หรือว่าหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่’ ในเรื่องนั้น วิญญูชนเมื่อซักไซ้
ไล่เลียงสอบสวนอย่างนี้ โดยมากจะสรรเสริญพวกเราฝ่ายเดียวเท่านั้น
[391] ยังมีอีก กัสสปะ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบ
เทียบศาสดากับศาสดา หมู่สาวกกับหมู่สาวกว่า ‘ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็น
กุศลก็จัดว่าเป็นกุศล ที่ไม่มีโทษก็จัดว่าไม่มีโทษ ที่ควรเสพก็จัดว่าควรเสพ ที่
ประเสริฐก็จัดว่าประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายดีก็จัดว่าเป็นฝ่ายดี ใครเล่าที่สมาทาน
ประพฤติธรรมเหล่านี้ได้ครบถ้วน หมู่สาวกของพระสมณโคดมหรือว่าหมู่สาวกของ
คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :163 }