เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [6.มหาลิสูตร] เรื่องนักบวช 2 รูป

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาลิ มีทาง มีข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรม
เหล่านั้นอยู่”
[375] เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางเป็นอย่างไร
ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐเหล่านี้คือ สัมมา
ทิฏฐิ(เห็นชอบ), สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ), สัมมาวาจา(เจรจาชอบ), สัมมา
กัมมันตะ(กระทำชอบ), สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ), สัมมาวายามะ(พยายามชอบ),
สัมมาสติ(ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นชอบ) นี้แลคือทาง นี้คือข้อปฏิบัติ
เพื่อบรรลุธรรมเหล่านั้น

เรื่องนักบวช 2 รูป

[376] มหาลิ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี มีนักบวช 2
รูป คือ มัณฑิยปริพาชกและชาลิยปริพาชก ซึ่งเป็นศิษย์ของพวกทารุปัตติกะ
(นักบวชผู้นิยมใช้บาตรไม้)เข้าไปหาเรา สนทนากับเราพอคุ้นเคยดีแล้วยืนอยู่ ณ ที่
สมควร ถามเราว่า ‘ท่านพระโคดม ชีวะ1 กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’
[377] เราตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจะบอก’
นักบวชทั้ง 2 รูปนั้นรับคำของเราแล้ว เราจึงกล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ ตถาคตอุบัติขึ้นมา
ในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ2 (พึงนำข้อความเต็มใน
สามัญญผลสูตรมาใส่ไว้ในที่นี้) ผู้มีอายุ ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ ผู้มีอายุ ภิกษุผู้รู้ผู้เห็นอย่างนี้ ควรละหรือที่จะ
กล่าวว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’
นักบวชทั้ง 2 รูปนั้นตอบว่า ‘ภิกษุผู้รู้ผู้เห็นอย่างนี้ยังควรที่จะกล่าวว่า ชีวะ
กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’

เชิงอรรถ :
1 ชีวะ ในที่นี้หมายถึง วิญญาณอมตะหรือ อาตมัน (Soul) [อภิ.ปจ.อ.1/1/129]
2 ความเต็มเหมือนในสามัญญผลสูตร ข้อ 194-212 และควรดูเทียบต่อไปจนถึงข้อ 248

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :157 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [6.มหาลิสูตร] เรื่องนักบวช 2 รูป

เรากล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรารู้เราเห็นอย่างนี้ แต่ก็ไม่กล่าวว่า ชีวะกับสรีระเป็น
อย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
ฯลฯ บรรลุทุติยฌานอยู่ บรรลุตติยฌานอยู่ บรรลุจตุตถฌานอยู่ ผู้มีอายุ
ภิกษุผู้รู้ผู้เห็นอย่างนี้ ควรละหรือที่จะกล่าวว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือ
ว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’
นักบวชทั้ง 2 รูปนั้นตอบว่า ‘ภิกษุผู้รู้ผู้เห็นอย่างนี้ยังควรที่จะกล่าวว่า ชีวะ
กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’
เรากล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรารู้เราเห็นอย่างนี้ แต่ก็ไม่กล่าวว่า ชีวะกับสรีระเป็น
อย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
ฯลฯ น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ ผู้มีอายุ ภิกษุผู้รู้ผู้เห็นอย่างนี้ ควรละหรือ
ที่จะกล่าวว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’
นักบวชทั้ง 2 รูปนั้นตอบว่า ‘ภิกษุผู้รู้ผู้เห็นอย่างนี้ไม่ควรที่จะกล่าวว่า ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’1
เรากล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรารู้เราเห็นอย่างนี้ แต่ก็ไม่กล่าวว่า ชีวะกับสรีระเป็น
อย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป ผู้มีอายุ ภิกษุผู้รู้
ผู้เห็นอย่างนี้ ควรละหรือที่จะกล่าวว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’
นักบวชทั้ง 2 รูปนั้นตอบว่า ‘ภิกษุผู้รู้ผู้เห็นอย่างนี้ไม่ควรที่จะกล่าวว่า ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’
เรากล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรารู้เราเห็นอย่างนี้ จึงไม่กล่าวว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่าง
เดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ดังนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวีมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล้วแล

มหาลิสูตรที่ 6 จบ