เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [5.กูฏทันตสูตร]
พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชายัญด้วยอาการ 16 อย่าง

รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษร-
ศาสตร์ และประวัติศาสตร์ รู้ตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญ
โลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ โปรดทรงทราบตามนี้เถิด
ขอพระองค์ได้ทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา และทรงทำ
พระทัยให้เลื่อมใสในภายในเถิด
15. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญ ใคร ๆ จะกล่าวว่า พระเจ้า
มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์
ไม่ใช่ผู้มีศีล ไม่มีศีลที่เจริญ ไม่ประกอบด้วยศีลที่เจริญ ถึงกระนั้น
พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญเห็นปานนั้นอยู่ แม้เพราะเหตุนี้ ก็
ไม่มีใครตำหนิพระองค์ได้โดยธรรม เพราะพราหมณ์ปุโรหิตของ
พระองค์เป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญ โปรด
ทรงทราบตามนี้เถิด ขอพระองค์ได้ทรงบูชา ทรงบริจาค ทรง
อนุโมทนา และทรงทำพระทัยให้เลื่อมใสในภายในเถิด
16. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญ ใคร ๆ จะกล่าวว่า พระเจ้า
มหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์
ไม่ใช่บัณฑิตผู้เฉลียวฉลาดมีปัญญาลำดับที่ 1 หรือที่ 2 ใน
บรรดาพราหมณ์ผู้รับการบูชา ถึงกระนั้น พระองค์ก็ยังทรงบูชา
มหายัญเห็นปานนั้นอยู่ แม้เพราะเหตุนี้ ก็ไม่มีใครตำหนิ
พระองค์ได้โดยธรรม เพราะพราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์เป็นผู้
เฉลียวฉลาด มีปัญญาลำดับที่ 1 หรือที่ 2 ในบรรดาพราหมณ์
ผู้รับการบูชา โปรดทรงทราบตามนี้เถิด ขอพระองค์ได้ทรงบูชา
ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา และทรงทำพระทัยให้เลื่อมใส
ในภายในเถิด
พราหมณ์ปุโรหิตได้กราบทูลชี้แจงให้เห็นชัด ชักชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าพระทัยของพระเจ้ามหาวิชิตราชผู้จะทรงบูชามหายัญให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมพระทัยให้สดชื่นร่าเริงด้วยอาการ 16 อย่างเหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :143 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [5.กูฏทันตสูตร]
พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชายัญด้วยอาการ 16 อย่าง

[345] ในยัญนั้นไม่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิด ไม่
ต้องตัดต้นไม้มาทำหลักบูชายัญ ไม่ต้องเกี่ยวหญ้าคาเพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น แม้
เหล่าชนที่เป็นทาส คนรับใช้ กรรมกรของพระเจ้ามหาวิชิตราชก็ไม่ถูกลงอาชญา ไม่
มีภัยคุกคาม ไม่ต้องร้องไห้ฟูมฟายทำบริกรรม แท้จริง คนที่ปรารถนาจะทำจึงได้
ทำ ที่ไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องทำ ทำแต่สิ่งที่ปรารถนาเท่านั้น สิ่งที่ไม่ปรารถนาไม่ต้อง
ทำ ยัญพิธีนั้นสำเร็จลงเพียงเพราะเนยใส น้ำมัน เนยข้น นมเปรี้ยว น้ำผึ้ง และ
น้ำอ้อยเท่านั้น
[346] ต่อมา พวกเจ้าผู้ครองเมืองที่อยู่ในนิคมและอยู่ในชนบท พวก
อำมาตย์ราชบริพารที่อยู่ในนิคมและอยู่ในชนบท พวกพราหมณ์มหาศาลที่อยู่ใน
นิคมและอยู่ในชนบท พวกคหบดีผู้มั่งคั่งที่อยู่ในนิคมและอยู่ในชนบท พากันนำ
ทรัพย์จำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระเจ้ามหาวิชิตราช กราบทูลว่า ‘ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้นำทรัพย์จำนวนมากนี้มาเพื่อพระองค์ ขอพระองค์ทรง
รับไว้เถิด’
ท้าวเธอตรัสว่า ‘อย่าเลย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราเองได้รวบรวมทรัพย์
สินจำนวนมากมาจากภาษีอากรอันชอบธรรม ทรัพย์ที่พวกท่านนำมาก็จงเป็น
ของพวกท่านเถิด และพวกท่านจงนำทรัพย์จากที่นี่ไปเพิ่มอีก’
คนเหล่านั้นเมื่อถูกปฏิเสธ จึงจากไปปรึกษาหารือกันว่า ‘การที่พวกเราจะ
รับทรัพย์สินเหล่านี้กลับคืนไปยังบ้านเมืองของตนอีกนั้นไม่เป็นการสมควรเลย พระ
เจ้ามหาวิชิตราชกำลังทรงบูชามหายัญ เอาเถอะพวกเรามาร่วมบูชายัญโดยเสด็จ
พระราชกุศลกันเถิด’
[347] ต่อมา พวกเจ้าผู้ครองเมืองที่อยู่ในนิคมและอยู่ในชนบทเริ่มบำเพ็ญ
ทานทางทิศตะวันออกแห่งหลุมยัญ พวกอำมาตย์ราชบริพารที่อยู่ในนิคมและอยู่ใน
ชนบทเริ่มบำเพ็ญทานทางทิศใต้แห่งหลุมยัญ พวกพราหมณ์มหาศาลที่อยู่ในนิคม
และอยู่ในชนบทเริ่มบำเพ็ญทานทางทิศตะวันตกแห่งหลุมยัญ พวกคหบดีผู้มั่งคั่งที่
อยู่ในนิคมและอยู่ในชนบทเริ่มบำเพ็ญทานทางทิศเหนือแห่งหลุมยัญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :144 }