เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร] ทิฏฐิ 62 สัสสตวาทะ 4

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ 1 ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ
แล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

มูลเหตุที่ 2

[32] 2. อนึ่ง ในมูลเหตุที่ 2 สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภอะไร
จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความ
เพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่าง
ถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ
1 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป1 บ้าง 2 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง 3 สังวัฏฏกัปและ
วิวัฏฏกัปบ้าง 4 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง 5 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง
10 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้
ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมี
อายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสา
ระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่
แน่ เพราะเหตุอะไร เพราะว่าเราอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้ง
มั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี
แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ
1 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง 2 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง 3 สังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัปบ้าง 4 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง 5 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง
10 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมี

เชิงอรรถ :
1 สังวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเสื่อม, ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเจริญ, ช่วงระยะเวลา
ที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (วิ.อ. 1/12/158)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :13 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [1.พรหมชาลสูตร] ทิฏฐิ 62 สัสสตวาทะ 4

อายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เราระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เพราะการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ เราจึงรู้
อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสาระเนียด ส่วนสัตว์
เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ 2 ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ
แล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

มูลเหตุที่ 3

[33] 3. อนึ่ง ในมูลเหตุที่ 3 สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภอะไร
จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความ
เพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่าง
ถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ
10 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง 20 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง 30 สังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัปบ้าง 40 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไป
เกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวย
สุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เขาระลึกถึงชาติก่อน
ได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสา
ระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่
แน่ เพราะเหตุอะไร เพราะว่าเราอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้ง
มั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี
แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ
10 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง 20 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง 30 สังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัปบ้าง 40 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :14 }