เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [4.โสณทัณฑสูตร]
คุณสมบัติของผู้เป็นพราหมณ์

คุณสมบัติของผู้เป็นพราหมณ์

[311] ทันใดนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะยืดกายขึ้นเหลียวดูบริษัทแล้ว
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม พวกพราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วย
คุณสมบัติ 5 อย่างว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะพูดว่า ‘เราเป็นพราหมณ์’ ก็
พูดได้โดยชอบ ทั้งไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย คุณสมบัติ 5 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้
เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
2. เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์
เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและ
ไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ1
3. เป็นผู้มีรูปงามน่าดูน่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนักดุจพรหม
มีกายดุจพรหม โอกาสที่จะได้พบเห็นยากนัก
4. เป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญ
5. เป็นบัณฑิตมีปัญญาลำดับที่ 1 หรือที่ 2 ในบรรดาพราหมณ์ผู้
รับการบูชา
พวกพราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ 5 อย่างนี้แลว่าเป็นพราหมณ์
และเมื่อเขาจะพูดว่า ‘เราเป็นพราหมณ์’ ก็พูดได้โดยชอบ ทั้งไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บรรดาคุณสมบัติ 5 อย่างนี้ (หาก)เว้นเสีย
1 อย่าง พวกพราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเพียง 4 อย่างว่าเป็น
พราหมณ์ได้หรือไม่ และเมื่อเขาจะพูดว่า ‘เราเป็นพราหมณ์’ ก็พูดได้โดยชอบ ทั้ง
ไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย”
พราหมณ์โสณทัณฑะกราบทูลว่า “ได้ ท่านพระโคดม บรรดาคุณสมบัติ 5
อย่าง เว้นผิวพรรณเสียอย่างหนึ่งก็ได้ เพราะผิวพรรณจักทำอะไรได้ บุคคลชื่อว่าเป็น
พราหมณ์เพราะ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถ 2 และ 3 ในหน้า 88

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :118 }