เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [3.อัมพัฏฐสูตร] ฤๅษีผู้เป็นบูรพาจารย์

แห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้ด้วย ก็พราหมณ์โปกขรสาติผู้
เป็นอาจารย์ของเธอได้พูดว่า ‘สมณะโล้นบางเหล่าเป็นคนรับใช้ เป็นคนวรรณะ
ต่ำ(กัณหโคตร) เกิดจากพระบาทของท้าวมหาพรหม ไม่มีประโยชน์เลยที่พวก
พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทจะสนทนาด้วย ๋ ตนเองก็ตกอยู่ในความเสื่อม บำเพ็ญวิชชา-
สมบัติและจรณสมบัติให้บริบูรณ์ไม่ได้ อัมพัฏฐะ เธอจงดูความผิดของพราหมณ์
โปกขรสาติผู้เป็นอาจารย์ของเธอว่ามีเพียงไร

ฤๅษีผู้เป็นบูรพาจารย์

[283] อัมพัฏฐะ ถึงพราหมณ์โปกขรสาติปกครองเมืองที่พระเจ้าปเสนทิ-
โกศลพระราชทานให้ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ยังไม่โปรดให้เขาเข้าเฝ้าเฉพาะพระพักตร์
เวลาจะทรงปรึกษาก็ทรงปรึกษานอกพระวิสูตร ทำไม ท้าวเธอจึงไม่โปรดให้เขาเข้า
เฝ้าเฉพาะพระพักตร์ ทั้ง ๆ ที่เขาได้รับพระราชทานภิกษาหารอันชอบธรรมเล่า อัมพัฏฐะ
เธอจงดูความผิดของพราหมณ์โปกขรสาติผู้เป็นอาจารย์ของเธอว่ามีเพียงไร
[284] อัมพัฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงช้าง
ทรงม้าหรือประทับอยู่บนรถพระที่นั่ง จะทรงปรึกษาราชกิจบางเรื่องกับมหาอำมาตย์
หรือพระบรมวงศานุวงศ์แล้วเสด็จจากที่นั้นไปประทับ ณ ที่แห่งหนึ่ง ต่อมา ศูทร
หรือจัณฑาลพึงมายืนปรึกษาอย่างเดียวกัน ณ ที่นั้นว่า ‘พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสอย่าง
นี้ ๆ’ เขาเพียงพูดได้เหมือนที่พระราชาตรัสหรือปรึกษาได้เหมือนอย่างที่พระราชาทรง
ปรึกษา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จะจัดว่าเขาเป็นพระราชาหรือราชอำมาตย์ได้หรือไม่”
เขากราบทูลว่า “ไม่ได้เลย ท่านพระโคดม”
[285] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัมพัฏฐะ เธอก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
พวกฤๅษีผู้เป็นบูรพาจารย์ของพราหมณ์ คือ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษี
วามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตร ฤๅษียมตัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารัทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ
ฤๅษีกัสสปะ ฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์บอกมนตร์ที่พวกพราหมณ์ในเวลานี้ขับ
ตามกล่อมตามซึ่งบทมนตร์เก่าที่ท่านขับไว้กล่อมไว้ รวบรวมไว้ กล่าวได้ถูกต้องตาม
ที่ท่านกล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านบอกไว้ เพียงคิดว่า ‘เรากับอาจารย์เรียน
มนตร์ของท่านเหล่านั้น’ เธอจักได้ชื่อว่าเป็นฤๅษีหรือผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นฤๅษีเพราะเหตุ
เพียงเท่านั้น นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :104 }