เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] หัวข้อประจำวรรค
อยู่นอกสีมาสมมติสีมา สมมติสีมาในแม่น้ำ
ในทะเล ในสระเกิดเอง คาบเกี่ยวสีมา
ทับสีมาด้วยสีมา กรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ
กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ
กรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ กรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ
ไม่นำฉันทะมา นำฉันทะมา ผู้เข้ากรรม
ผู้ควรฉันทะ ผู้ควรแก่กรรม
อปโลกนกรรม 5 ฐานะ ญัตติกรรม 9 ฐานะ
ญัตติทุติยกรรม 7 ฐานะ ญัตติจตุตถกรรม 7 ฐานะ
ยอมรับว่าดี ความผาสุก บุคคลผู้หน้าด้าน
ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก อาสวะ
เวร โทษ ภัย อกุศลธรรม คฤหัสถ์
ผู้ปรารถนาเลวทราม ชุมชนผู้ยังไม่เลื่อมใส
ชุมชนผู้เลื่อมใสแล้ว ความตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม
เอื้อเฟื้อพระวินัย ปาติโมกขุทเทส
งดปาติโมกข์ งดปวารณา ตัชชนียกรรม นิยสกรรม
ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม อุกเขปนียกรรม ปริวาส
อาบัติเดิม มานัต อัพภาน โอสารณา นิสสารณา อุปสมบท
อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม
ยังมิได้ทรงบัญญัติ ทรงบัญญัติซ้ำ สัมมุขาวินัย สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา
ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ วัตถุ
วิบัติ อาบัติ นิทาน บุคคล
ขันธ์ สมุฏฐาน อธิกรณ์ สมถะ
สังคหะ ชื่อ อาบัติ ดังนี้แล
คัมภีร์ปริวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :720 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ปริโยสานคาถา
ปริโยสานคาถา
ก็พระวินัยธร ผู้เรืองนาม มีปัญญามาก ทรงสุตะ
มีวิจารณญาณ ถามแนวทางของท่านบูรพาจารย์ในที่นั้น ๆ
คิดแล้วให้เขียนข้อพิสดารและสังเขปนี้ไว้ในสายกลาง
ตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งจะนำความสะดวกมาให้แก่เหล่าศิษย์
คัมภีร์นี้เรียกว่า “ปริวาร” มีทุกเรื่องพร้อมทั้งลักษณะ
มีอรรถโดยอรรถในสัทธรรม มีธรรมโดยธรรมในบัญญัติ
ห้อมล้อมพระศาสนา ดุจสาครล้อมรอบชมพูทวีป ฉะนั้น
พระวินัยธรเมื่อไม่รู้คัมภีร์ปริวาร ไฉนจะวินิจฉัยธรรมได้
ความเคลือบแคลงของพระวินัยธรที่เกิดในวิบัติ วัตถุ บัญญัติ
อนุบัญญัติ บุคคล เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ โลกวัชชะ
และปัณณัตติวัชชะ ย่อมขาดสิ้นไปด้วยคัมภีร์ปริวาร
พระเจ้าจักรพรรดิสง่างามในกองทัพ ฉันใด
ไกรสรสง่างามในท่ามกลางฝูงมฤค ฉันใด
พระอาทิตย์แผ่สร้านด้วยรัศมีเจิดจ้า ฉันใด
พระจันทร์ส่องสว่างงดงามในหมู่ดาว ฉันใด
พระพรหมสง่างามในหมู่พรหม ฉันใด
ท่านผู้นำสง่างามในท่ามกลางหมู่ชน ฉันใด
พระสัทธรรมและพระวินัยย่อมสง่างามด้วยคัมภีร์ปริวาร ฉันนั้นแล
จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :721 }