เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] หัวข้อประจำวรรค
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ 3 ครั้ง
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวด
สมนุภาสน์ครบ 3 ครั้ง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ว่ายากไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ 3 ครั้ง
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ
3 ครั้ง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ ฯลฯ
คำว่า อาศัยความไม่สนใจถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ทุกกฏ เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
นวสังคหวรรคที่ 5 จบ

หัวข้อประจำวรรค
อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม
ญัตติจตุตถกรรม วัตถุ ญัตติ อนุสาวนา สีมา บริษัท
พร้อมเพรียง สอบถาม ปฏิญญา ควรสติวินัย
วัตถุ สงฆ์ บุคคล ญัตติ ตั้งญัตติภายหลัง
วัตถุ สงฆ์ บุคคล สวดประกาศ
สวดในกาลไม่ควร สีมาเล็กเกิน สีมาใหญ่เกิน
สีมามีนิมิตขาด สีมาใช้เงาเป็นนิมิต สีมาไม่มีนิมิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :719 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] หัวข้อประจำวรรค
อยู่นอกสีมาสมมติสีมา สมมติสีมาในแม่น้ำ
ในทะเล ในสระเกิดเอง คาบเกี่ยวสีมา
ทับสีมาด้วยสีมา กรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ
กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ
กรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ กรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ
ไม่นำฉันทะมา นำฉันทะมา ผู้เข้ากรรม
ผู้ควรฉันทะ ผู้ควรแก่กรรม
อปโลกนกรรม 5 ฐานะ ญัตติกรรม 9 ฐานะ
ญัตติทุติยกรรม 7 ฐานะ ญัตติจตุตถกรรม 7 ฐานะ
ยอมรับว่าดี ความผาสุก บุคคลผู้หน้าด้าน
ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก อาสวะ
เวร โทษ ภัย อกุศลธรรม คฤหัสถ์
ผู้ปรารถนาเลวทราม ชุมชนผู้ยังไม่เลื่อมใส
ชุมชนผู้เลื่อมใสแล้ว ความตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม
เอื้อเฟื้อพระวินัย ปาติโมกขุทเทส
งดปาติโมกข์ งดปวารณา ตัชชนียกรรม นิยสกรรม
ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม อุกเขปนียกรรม ปริวาส
อาบัติเดิม มานัต อัพภาน โอสารณา นิสสารณา อุปสมบท
อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม
ยังมิได้ทรงบัญญัติ ทรงบัญญัติซ้ำ สัมมุขาวินัย สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา
ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ วัตถุ
วิบัติ อาบัติ นิทาน บุคคล
ขันธ์ สมุฏฐาน อธิกรณ์ สมถะ
สังคหะ ชื่อ อาบัติ ดังนี้แล
คัมภีร์ปริวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :720 }