เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] 4. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ
1. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ทั้งหลาย
2. เพื่อทำลายการแบ่งเป็นพรรคเป็นพวกของภิกษุผู้มีความปรารถนา
เลวทรามทั้งหลาย
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ
1. เพื่อความเลื่อมใสของเหล่าชนที่ยังไม่เลื่อมใส
2. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของเหล่าชนที่เลื่อมใสแล้ว
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ
1. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
2. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้
อปัญญัตเตปัญญัตตวรรคที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :716 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] 5. นวสังคหวรรค
5. นวสังคหวรรค
หมวดว่าด้วยสังคหะ 9

สังคหะ 9 อย่าง
[501] สังคหะ มี 9 อย่าง คือ

1. วัตถุสังคหะ 2. วิบัติสังคหะ
3. อาบัติสังคหะ 4. นิทานสังคหะ
5. บุคคลสังคหะ 6. ขันธสังคหะ
7. สมุฏฐานสังคหะ 8. อธิกรณสังคหะ
9. สมถสังคหะ

ให้บอกเรื่อง
เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ถ้าคู่ความทั้งสองมาถึง สงฆ์พึงให้ทั้งสองบอกเรื่อง
ครั้นให้ทั้งสองบอกเรื่องแล้ว พึงฟังปฏิญญาของทั้งสอง ครั้นฟังปฏิญญาของทั้งสองแล้ว
พึงพูดกับคู่ความทั้งสองว่า เมื่อพวกเราระงับอธิกรณ์นี้แล้ว ท่านทั้งสองจักยินดีหรือ
ถ้าทั้งสองรับว่า ข้าพเจ้าทั้งสองจักยินดี สงฆ์พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ ถ้าบริษัทมีอลัชชีมาก
สงฆ์พึงระงับด้วยอุพพาหิกา ถ้าบริษัทมีคนเลวมาก สงฆ์พึงแสวงหาพระวินัยธร
อธิกรณ์นั้นจะระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ใด สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นั้น
โดยอย่างนั้น

พึงรู้วัตถุ เป็นต้น
พึงรู้วัตถุ พึงรู้โคตร พึงรู้ชื่อ พึงรู้อาบัติ
คำว่า เมถุนธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อทินนาทาน เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :717 }