เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] 4. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
4. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
หมวดว่าด้วยทรงบัญญัติในเมื่อยังมิได้บัญญัติ
[500] ฯลฯ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทที่ยังมิได้บัญญัติ ทรงบัญญัติ
เพิ่มเติมสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ฯลฯ ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติ
สติวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติอมูฬหวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ ทรง
บัญญัติเยภุยยสิกา ฯลฯ ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ ทรงบัญญัติติณวัตถารกะ
แก่สาวกทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ 2 ประการ คือ
1. เพื่อความยอมรับว่าดีแห่งพระสงฆ์
2. เพื่อความผาสุกแห่งพระสงฆ์
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ
1. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
2. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ
1. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
2. เพื่อกำจัดอาสวะอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :714 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] 4. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ
1. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
2. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ
1. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
2. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ
1. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
2. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ
1. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
2. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :715 }