เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] 3. ปัญญัตตวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ 2 ประการ คือ
1. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
2. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ 2 ประการนี้
อัตถวสวรรคที่ 2 จบ

3. ปัญญัตตวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องที่ทรงบัญญัติ

ทรงบัญญัติปาติโมกข์ เป็นต้น
[499] พระตถาคตทรงบัญญัติปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ 2 ประการ ฯลฯ ทรงบัญญัติปาติโมกขุทเทส ฯลฯ ทรงบัญญัติการงด
ปาติโมกข์ ฯลฯ ทรงบัญญัติปวารณา ฯลฯ ทรงบัญญัติการงดปวารณา ฯลฯ
ทรงบัญญัติตัชชนียกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัตินิยสกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติปัพพาชนีย
กรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติปฏิสารณียกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติอุกเขปนียกรรม ฯลฯ
ทรงบัญญัติการให้ปริวาส ฯลฯ ทรงบัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ฯลฯ ทรง
บัญญัติการให้มานัต ฯลฯ ทรงบัญญัติอัพภาน ฯลฯ ทรงบัญญัติโอสารณียกรรม
ฯลฯ ทรงบัญญัตินิสสารณียกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติการอุปสมบท ฯลฯ ทรงบัญญัติ
อปโลกนกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติญัตติกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติญัตติทุติยกรรม ฯลฯ
ทรงบัญญัติญัตติจตุตถกรรม ฯลฯ
ปัญญัตตวรรคที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :713 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] 4. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
4. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
หมวดว่าด้วยทรงบัญญัติในเมื่อยังมิได้บัญญัติ
[500] ฯลฯ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทที่ยังมิได้บัญญัติ ทรงบัญญัติ
เพิ่มเติมสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ฯลฯ ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติ
สติวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติอมูฬหวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ ทรง
บัญญัติเยภุยยสิกา ฯลฯ ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ ทรงบัญญัติติณวัตถารกะ
แก่สาวกทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ 2 ประการ คือ
1. เพื่อความยอมรับว่าดีแห่งพระสงฆ์
2. เพื่อความผาสุกแห่งพระสงฆ์
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ
1. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
2. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการ คือ
1. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
2. เพื่อกำจัดอาสวะอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
2 ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :714 }