เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] 1. กรรมวรรค
1. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร
ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อมเพรียงกัน
คัดค้าน
2. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร
ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อมเพรียง
กันคัดค้าน
3. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร
ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อมเพรียงกัน
คัดค้าน
4. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
5. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
6. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
7. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
8. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
9. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
10. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
11. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุ
พร้อมเพรียงกันคัดค้าน
12. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ 12 อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :704 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] 1. กรรมวรรค
กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ เป็นต้น
[488] ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ 4 รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและ
ไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ 5 รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ
ที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและไม่ควรฉันทะ
แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ 10 รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ
ที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและไม่ควรฉันทะ
แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ 20 รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม
และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม

กรรม 4
[489] กรรม 4 อย่าง คือ (1) อปโลกนกรรม (2) ญัตติกรรม
(3) ญัตติทุติยกรรม (4) ญัตติจตุตถกรรม
ถาม : กรรม 4 อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการเท่าไร
ตอบ : กรรม 4 อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการ 5 อย่าง คือ

1. โดยวัตถุ 2. โดยญัตติ
3. โดยอนุสาวนา 4. โดยสีมา
5. โดยบริษัท

วัตถุวิบัติ
[490] ถาม : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :705 }