เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 5. อัตตาทานวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ควรซักถาม องค์ 5 คือ
1. รู้วัตถุ 2. รู้นิทาน
3. รู้บัญญัติ 4. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
5. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ 5 คือ

1. ไม่รู้อาบัติ 2. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
3. ไม่รู้ประโยคแห่งอาบัติ 4. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
5. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ควรซักถาม องค์ 5 คือ

1. รู้อาบัติ 2. รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
3. รู้ประโยคแห่งอาบัติ 4. รู้ความระงับอาบัติ
5. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ 5 คือ

1. ไม่รู้อธิกรณ์ 2. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
3. ไม่รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ 4. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
5. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่ควรซักถาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :625 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 6. ธุดงควรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ควรซักถาม องค์ 5 คือ

1. รู้อธิกรณ์ 2. รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
3. รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ 4. รู้ความระงับอธิกรณ์
5. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ควรซักถาม”
อัตตาทานวรรคที่ 5 จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุผู้มีความประพฤติทางกาย วาจาบริสุทธิ์
ภิกษุผู้กล่าวโดยกาล มีความการุญ ควรเป็นผู้โจทก์
การทำโอกาส การรับอธิกรณ์ อธิกรณ์และการรับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ภิกษุผู้รู้วัตถุ รู้พระสูตร รู้ธรรม รู้วัตถุอีกนัยหนึ่ง รู้อาบัติ รู้อธิกรณ์

6. ธุดงควรรค
หมวดว่าด้วยธุดงค์

ถืออยู่ป่า เป็นต้น
[443] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่านี้มี 5 จำพวก คือ
1. เพราะเป็นผู้โง่เขลางมงาย จึงอยู่ป่า
2. เป็นผู้มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอยู่ป่า
3. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า
4. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงอยู่ป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :626 }