เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 5. อัตตาทานวรรค
1. เราจักโจทโดยกาลที่ควร จักไม่โจทโดยกาลไม่ควร
2. เราจักโจทด้วยเรื่องจริง จักไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง
3. เราจักโจทด้วยคำสุภาพ จักไม่โจทด้วยคำหยาบ
4. เราจักโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ จักไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็น
ประโยชน์
5. เราจักมีเมตตาจิตโจท จักไม่มุ่งร้ายโจท
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น ควรตั้งคุณสมบัติ 5 ประการนี้
ไว้ในตนจึงโจทผู้อื่น”

โจทก์ควรใฝ่ใจถึงธรรม
[438] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจท ผู้อื่นควรใฝ่ใจ
ธรรมเท่าไรไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น ควรใฝ่ใจ
ธรรม 5 อย่าง ไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น ธรรม 5 อย่าง คือ
1. มีความการุญ 2. มุ่งประโยชน์
3. มีความเอ็นดู 4. มุ่งออกจากอาบัติ
5. ยึดพระวินัยไว้เป็นแนวทาง
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น ควรใฝ่ใจธรรม 5 อย่างนี้ไว้ในตนแล้ว
โจทผู้อื่น”

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้ทำโอกาส
[439] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ขอให้ทำโอกาส
สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส องค์ 5 คือ
1. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
2. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
3. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :619 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 5. อัตตาทานวรรค
4. เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด
5. ถูกซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส

องค์ของภิกษุผู้ควรให้ทำโอกาส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส องค์
5 คือ
1. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
2. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
3. เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์
4. เป็นบัณฑิต ฉลาด
5. ถูกซักถามเข้า อาจตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส”

องค์แห่งอธิกรณ์ที่ตนพึงรับ1
[440] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับ
อธิกรณ์ประกอบด้วยองค์เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์
ประกอบด้วยองค์ 5 คือ
1. ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้หรือไม่ถึงหนอ’ ถ้าภิกษุ
พิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘ยังไม่ใช่เวลาที่จะรับอธิกรณนี้ ถึงเวลาหา
มิได้’ ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

เชิงอรรถ :
1 วิ.จู. (แปล) 7/398/300-302

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :620 }