เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 5. อัตตาทานวรรค
โภชนะ 5
[435] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “โภชนะมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี โภชนะนี้มี 5 อย่าง คือ
1. ข้าวสุก 2. ขนมสด
3. ขนมแห้ง 4. ปลา
5. เนื้อ
อุบาลี โภชนะมี 5 อย่างนี้แล”
ทิฏฐาวิกัมมวรรคที่ 4 จบ

หัวข้อประจำวรรค
การเปิดเผยความเห็นในอนาบัติ การเปิดเผยความเห็นในอาบัติ
การรับประเคน ของที่เป็นเดน การห้ามภัตร ปฏิญญาตกรณะ
การขอโอกาส การสนทนา การถามปัญหา
การอวดอ้างมรรคผล วิสุทธิ โภชนะ

5. อัตตาทานวรรค
หมวดว่าด้วยการรับหน้าที่เป็นโจทก์

คุณสมบัติที่ผู้โจทก์พึงพิจารณา1
[436] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตนเท่าไร จึงจะโจทผู้อื่นได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตน 5 อย่างแล้วจึงจะโจทผู้อื่น ธรรม 5 อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
1 วิ.จู. (แปล) 7/399/224, องฺ.ทสก. (แปล) 24/44/62

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :616 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 5. อัตตาทานวรรค
1. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เรามีความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติ
ทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติข้อนี้เรามี
อยู่หรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
ประกอบด้วยความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง
ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่านสำเหนียกความประพฤติ
ทางกายเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
2. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรามี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความ
ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางวาจา
บริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย
ไม่บกพร่อง ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่านสำเหนียก
ความประพฤติทางวาจาเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบ
โต้อย่างนี้
3. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรามี
เมตตาจิต ไม่อาฆาตพยาบาทเพื่อนพรหมจารีหรือหนอ คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีเมตตาจิต ไม่อาฆาต
พยาบาทเพื่อนพรหมจารี ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญ
ท่านมีเมตตาจิตในเพื่อนพรหมจารีเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้น
ย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
4. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรา
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีการสั่งสมสุตะหรือหนอ เราได้สดับมาก
ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงาม
เบื้องต้น งามท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :617 }