เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 4. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
การอวดอ้างมรรคผล
[433] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การอวดอ้างมรรคผลมีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การอวดอ้างมรรคผลมี 5 อย่าง คือ
1. ภิกษุอวดอ้างมรรคผลเพราะความเป็นผู้โง่เขลา งมงาย
2. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอวดอ้าง
มรรคผล
3. อวดอ้างมรรคผลเพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน
4. อวดอ้างมรรคผลเพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
5. อวดอ้างมรรคผลที่เป็นจริง
อุบาลี การอวดอ้างมรรคผลมี 5 อย่างนี้แล”

วิสุทธิ
[434] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “วิสุทธิมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี วิสุทธินี้มี 5 แบบ คือ
1. ยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้จัด
เป็นวิสุทธิแบบที่ 1
2. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก 4 ขึ้นแสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทส
ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ 2
3. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก 4 ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส 13
ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ 3
4. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก 4 ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส 13
ขึ้นแสดง ยกอนิยต 2 ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ
ด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ 4
5. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด เป็นวิสุทธิแบบที่ 5
อุบาลี วิสุทธิมี 5 แบบนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :615 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 5. อัตตาทานวรรค
โภชนะ 5
[435] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “โภชนะมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี โภชนะนี้มี 5 อย่าง คือ
1. ข้าวสุก 2. ขนมสด
3. ขนมแห้ง 4. ปลา
5. เนื้อ
อุบาลี โภชนะมี 5 อย่างนี้แล”
ทิฏฐาวิกัมมวรรคที่ 4 จบ

หัวข้อประจำวรรค
การเปิดเผยความเห็นในอนาบัติ การเปิดเผยความเห็นในอาบัติ
การรับประเคน ของที่เป็นเดน การห้ามภัตร ปฏิญญาตกรณะ
การขอโอกาส การสนทนา การถามปัญหา
การอวดอ้างมรรคผล วิสุทธิ โภชนะ

5. อัตตาทานวรรค
หมวดว่าด้วยการรับหน้าที่เป็นโจทก์

คุณสมบัติที่ผู้โจทก์พึงพิจารณา1
[436] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตนเท่าไร จึงจะโจทผู้อื่นได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตน 5 อย่างแล้วจึงจะโจทผู้อื่น ธรรม 5 อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
1 วิ.จู. (แปล) 7/399/224, องฺ.ทสก. (แปล) 24/44/62

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :616 }