เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 4. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
การห้ามภัตร
[428] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการ 5
อย่าง คือ

1. ภิกษุกำลังฉัน 2. ทายกนำโภชนะมาถวาย
3. ทายกอยู่ในหัตถบาส 4. ทายกน้อมของถวาย
5. ภิกษุบอกห้าม

อุบาลี การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการ 5 อย่างนี้แล”

ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
[429] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมนี้มี 5 อย่าง คือ
1. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ปฏิญญา
ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
2. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ปฏิญญา
ว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
3. ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่
ปฏิญญาว่าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
4. ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ถูก
โจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับ
อาบัติปาราชิกภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :611 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 4. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
5. ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่า
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับอาบัติ
ปาฏิเทสนียะภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะ 5 อย่างนี้แล ไม่ชอบธรรม

ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรมนี้มี 5 อย่าง คือ
1. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก ปฏิญญาว่า
ต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
2. ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถูกโจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ปฏิญญา
ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
3. ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถูกโจทด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ปฏิญญาว่า
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
4. ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ
ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับอาบัติปาฏิเทสนียะ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
5. ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ ปฏิญญาว่าต้อง
อาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาต-
กรณะที่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะ 5 อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :612 }