เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ 5 คือ

1. ไม่รู้พระธรรม 2. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
3. ไม่รู้พระวินัย 4. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
5. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ควรพูดในสงฆ์ องค์ 5 คือ

1. รู้พระธรรม 2. รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
3. รู้พระวินัย 4. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
5. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ควรพูดในสงฆ์”
โวหารวรรคที่ 3 จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่รู้อาบัติ ไม่รู้อธิกรณ์ กล่าวข่มขู่ ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุรู้อาบัติ กรรม วัตถุ ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุเป็นอลัชชี ไม่ฉลาดในญัตติ ไม่รู้พระสูตร
ไม่รู้พระธรรมไม่ควรพูดในสงฆ์
จัดเป็นวรรคที่ 3 แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :607 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 4. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
4. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
หมวดว่าด้วยการเปิดเผยความเห็น

ความเห็นที่ไม่ชอบธรรม
[425] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมมี 5
อย่าง คือ
1. การเปิดเผยความเห็นในอนาบัติ
2. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
3. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่แสดงแล้ว
4. การเปิดเผยความเห็นพร้อมกัน 4-5 รูป
5. การเปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น 5 อย่างนี้แล ที่ไม่ชอบธรรม

ความเห็นที่ชอบธรรม
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ชอบธรรมมี 5 อย่าง คือ
1. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติ
2. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
3. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
4. การไม่เปิดเผยความเห็นพร้อมกัน 4-5 รูป
5. การไม่เปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น 5 อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม

ความเห็นที่ไม่ชอบธรรม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมแม้อื่นอีก 5 อย่าง คือ
1. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุนานาสังวาส
2. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :608 }