เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
3. โจทตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
4. ปรับตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
5. ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา
เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก”

อานิสงส์ในการเรียนวินัย
[423] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์เท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ 5 ประการนี้ คือ
1. เป็นอันคุ้มครองรักษากองศีลของตนไว้ดีแล้ว
2. ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้
3. กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
4. ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึกโดยสหธรรม
5. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
อุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ 5 ประการนี้แล”
นัปปฏิปัสสัมภนวรรคที่ 2 จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกลงโทษกล่าวตำหนิกรรม
สงฆ์ไม่ควรระงับกรรมภิกษุผู้เป็นอลัชชี
ภิกษุผู้เข้าสงคราม ภิกษุผู้มีความคิดมืดมน
เป็นผู้อวดอ้าง กล่าวข่มขู่ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
อานิสงส์การเรียนวินัย
พระบัญญัติคู่ที่ 1 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :600 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 3. โวหารวรรค
3. โวหารวรรค
หมวดว่าด้วยการใช้โวหาร

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์
[424] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ควร
พูดในสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ไม่ควรพูดในสงฆ์
องค์ 5 คือ

1. ไม่รู้อาบัติ 2. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ
3. ไม่รู้ประโยคอาบัติ1 4. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
5. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ควรพูดในสงฆ์ องค์ 5 คือ

1. รู้อาบัติ 2. รู้สมุฏฐานอาบัติ
3. รู้ประโยคอาบัติ 4. รู้ความระงับอาบัติ
5. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ 5 คือ
1. ไม่รู้อธิกรณ์ 2. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์

เชิงอรรถ :
1 ไม่รู้ประโยคอาบัติ คือไม่รู้ว่า อาบัตินี้เกิดจากความพยายามทางกาย อาบัตินี้เกิดจากความพยายามทาง
วาจา (วิ.อ. 3/424/515)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :601 }