เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 2. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
2. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
หมวดว่าด้วยการไม่ระงับกรรม
[420] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ไม่
ควรระงับกรรม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 สงฆ์ไม่ควรระงับ
กรรม องค์ 5 คือ

1. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ 2. ให้นิสัย
แต่ยังให้อุปสมบท
3. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก 4. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

5. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์ 5
คือ

1. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุ 2. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
ให้ถูกสงฆ์ลงโทษ
3. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น 4. ตำหนิกรรม
5. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์ 5
คือ

1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า 2. กล่าวติเตียนพระธรรม
3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ 4. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
5. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :596 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] 2. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์
5 คือ

1. เป็นอลัชชี 2. เป็นคนโง่เขลา
3. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ 4. ทำการย่ำยีข้อปฏิบัติ
5. ไม่ทำข้อวัตรและสิกขาให้บริบูรณ์

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม”

คุณสมบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม
[421] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้ง
ธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้งธรรม
5 ประการไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ ธรรม 5 ประการ คือ
ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์
1. พึงมีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์
2. พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง รู้จักการนั่ง
3. ไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่ห้ามภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยอาสนะ พึงนั่ง
อาสนะตามสมควร
4. ไม่พึงพูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พึงพูดดิรัจฉานกถา
5. พึงกล่าวธรรมเองหรือเชื้อเชิญภิกษุรูปอื่น ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ
อุบาลี ถ้าสงฆ์ทำกรรมที่ควรพร้อมเพรียงกันทำ หากภิกษุไม่ชอบใจในกรรมนั้น
จะทำความคิดเห็นขัดแย้งกันก็ได้ แต่ควรควบคุมความสามัคคีไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเธอคิดว่า เราไม่ควรแตกต่างจากสงฆ์เลย
อุบาลี ภิกษุผู้เข้าสู่สงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงตั้งธรรม 5 ประการนี้ไว้ในตน
แล้วเข้าหาสงฆ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :597 }