เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 7. ปุจฉาวิภาค
คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ถามถึงอะไร
คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ถามถึงอะไร
[399] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ได้แก่ ถามถึงวัตถุ ถามถึงวิบัติ ถามถึงอาบัติ
ถามถึงอัชฌาจาร
คำว่า ถามถึงวัตถุ นั้น ได้แก่ ถามถึงวัตถุแห่งปาราชิก 8 ถามถึงวัตถุแห่ง
สังฆาทิเสส 23 ถามถึงวัตถุแห่งอนิยต 2 ถามถึงวัตถุแห่งนิสสัคคีย์ 42 ถามถึง
วัตถุแห่งปาจิตตีย์ 188 ถามถึงวัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ 12 ถามถึงวัตถุแห่งทุกกฏ
ถามถึงวัตถุแห่งทุพภาสิต
คำว่า ถามถึงวิบัติ นั้น ได้แก่ ถามถึงสีลวิบัติ ถามถึงอาจารวิบัติ ถามถึง
ทิฏฐิวิบัติ ถามถึงอาชีววิบัติ
คำว่า ถามถึงอาบัติ นั้น ได้แก่ ถามถึงอาบัติปาราชิก ถามถึงอาบัติสังฆาทิเสส
ถามถึงอาบัติถุลลัจจัย ถามถึงอาบัติปาจิตตีย์ ถามถึงอาบัติปาฏิเทสนียะ ถามถึง
อาบัติทุกกฏ ถามถึงอาบัติทุพพภาสิต
คำว่า ถามถึงอัชฌาจาร นั้น ได้แก่ ถามถึงกิจที่ทำกันสองต่อสอง
[400] คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ได้แก่ ถามถึงเพศ ถามถึงอิริยาบถ
ถามถึงอาการ ถามถึงประการอันแปลก
คำว่า ถามถึงเพศ นั้น หมายถึง สูงหรือเตี้ย ดำหรือขาว
คำว่า ถามถึงอิริยาบถ นั้น หมายถึง เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
คำว่า ถามอาการ นั้น หมายถึง เพศคฤหัสถ์ เพศเดียรถีย์ หรือเพศบรรพชิต
คำว่า ถามประการอันแปลก นั้น หมายถึง เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
[401] คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ได้แก่ ถามถึงกาล ถามถึงสมัย ถามถึงวัน
ถามถึงฤดู
คำว่า ถามถึงกาล นั้น หมายถึง เวลาเช้า เวลาเที่ยง หรือเวลาเย็น
คำว่า ถามถึงสมัย นั้น หมายถึง สมัยเช้า สมัยเที่ยง หรือสมัยเย็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :569 }