เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 6. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ว่าด้วยไม่พึงพูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
[394] คำว่า ไม่พึงพูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง นั้น คือ ไม่นำคำพูดที่ไม่เข้า
ประเด็นมา
คำว่า ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อมไปจากพระธรรมวินัย นั้น คือ ไม่พึง
ทำประโยชน์ที่สงฆ์ประชุมกันแล้วให้เสื่อมไปจากพระธรรม จากพระวินัย

ว่าด้วยธรรมวินัยสัตถุศาสน์
[395] คำว่า ด้วยธรรมใด คือ ด้วยเรื่องจริง
คำว่า ด้วยวินัยใด คือ โจทแล้วให้จำเลยให้การ
คำว่า ด้วยสัตถุศาสน์ใด คือ ด้วยญัตติสัมปทา ด้วยอนุสาวนสัมปทา
อธิกรณ์นั้น ย่อมระงับด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วยสัตถุศาสน์ใด พึงให้
อธิกรณ์นั้นระงับด้วยวิธีนั้น

6. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ว่าด้วยข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[396] อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงถามโจทก์ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา
แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องอะไร ท่านงดด้วยสีลวิบัติ ท่านงดด้วยอาจารวิบัติ
หรือท่านงดด้วยทิฏฐิวิบัติ
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดด้วยสีลวิบัติ งดด้วยอาจารวิบัติ หรืองด
ด้วยทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์นั้น พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ท่านรู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ
รู้ทิฏฐิวิบัติหรือ
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ารู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ก็สีลวิบัติเป็นไฉน
อาจารวิบัติเป็นไฉน ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :566 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 6. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก 4 สังฆาทิเสส 13 นี้จัดเป็นสีลวิบัติ
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้จัดเป็นอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ
อันตคาหิกทิฏฐิ นี้จัดเป็นทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา
แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน
หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา
แก่ภิกษุรูปนี้ ท่านงดด้วยเรื่องที่ได้เห็นนั้น ท่านเห็นอะไร ท่านเห็นอย่างไร เห็นเมื่อไร
เห็นที่ไหน ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน และ
ภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่
ได้เห็น แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยเรื่องที่ได้ยิน
ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่
ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้ยินนั้น ท่านได้ยินอะไร ได้ยินอย่างไร ได้ยินเมื่อไร ได้ยินที่ไหน
ท่านได้ยินว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยินว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือท่านได้ยินจาก
ภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา
พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่อง
ที่ได้ยิน แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยเรื่องที่นึกสงสัยต่างหาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :567 }